วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การวัดค่าความแข็งของวัสดุ และ เครื่องวัดค่าความแข็ง / Admin SJ (Tonan Asia Autotech)

 การวัดค่าความแข็งของวัสดุ และ เครื่องวัดค่าความแข็ง


    ค่าความแข็งของวัสดุเป็นสมบัติทางกลของสารที่มีความสำคัญต่อการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ไปจนถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ รอยกดบนชิ้นงานที่ได้จากเครื่องทดสอบความแข็งนั้นจะเป็นตัวบ่งบอกความแข็งแรง ความยืดหยุ่น ลักษณะโครงสร้างหรือองค์ประกอบของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี
ผู้เขียนได้เรียบเรียงความสำคัญ วิธีการ เทคนิค และการทดสอบคุณภาพของเครื่องทดสอบความแข็ง โดยจะเน้นในส่วนของการทดสอบความแข็งทางด้านโลหะและพลาสติก ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในการพิจารณาเลือกเครื่องมือที่ถูกต้องเหมาะกับการใช้งาน
Hardness Tester คืออะไร ?


      ก่อนที่จะรู้ว่า Hardness Tester คืออะไรนั้น ต้องมาทราบกันก่อนว่า Hardness คืออะไร
Hardness หรือ ความแข็ง เป็นปริมาณทางฟิสิกส์ที่แสดงถึงความสามารถในการคงรูปของวัสดุต่างๆ เมื่อมีแรงภายนอกหรือโหลดมากระทำกับวัตถุนั้นๆ ความแข็งเป็นปริมาณสัมพัทธ์ที่มีความแตกต่างจากปริมาณทางฟิสิกส์อื่นๆ เช่น ระยะทาง เวลา ปริมาตร หรือกระแสไฟฟ้า ตรงที่ไม่มีจำนวนหรือมาตรฐานที่แน่นอน แต่จะขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะทางกายภาพอย่างอื่น เช่น tensile strength, yield strength, ขีดจำกัดความยืดหยุ่น ความต้านทานการเกิดรอย เป็นต้น
ความแข็งของวัสดุจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การคำนวณน้ำหนัก ความดัน หรืออุณหภูมิ เพื่อที่จะดูว่าวัสดุนั้นมีความสามารถในการยืดหยุ่นได้หรือไม่เป็นสิ่งที่ยุ่งยาก การวัดค่าความแข็งเป็นหนึ่งในวิธีการดังกล่าวที่ดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ง่ายและดีที่สุด
Hardness Tester จึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและทดสอบค่าความแข็งนั่นเอง
คำจำกัดความ

ได้มีการให้คำจำกัดความของความแข็งตามวิธีการออกเป็น 3 แบบหลักๆ ได้แก่ Scratch Hardness, Indentation Hardness และ Rebound Hardness

Scratch Hardness

      Scratch Hardness มักถูกนำไปใช้ในการวัดความแข็งของแร่ แร่ที่มีความแข็งมากกว่าจะทำให้แร่ที่มีความแข็งน้อยกว่าเกิดริ้วรอยขีดข่วนขึ้น เป็นที่ทราบกันดีว่าเพชรบริสุทธิ์เป็นสารที่มีความแข็งมากที่สุด ดังนั้นจึงเป็นตัวที่นำไปใช้ในการทดสอบความแข็งของแร่ตัวอื่นๆ และทดสอบคุณภาพของเพชรด้วยกันเอง

Indentation Hardness

      โดยหลักแล้ว Indentation Hardness จะนำไปใช้ในทางด้านวิศวกรรมและโลหะ หาความต้านทานในการเกิดรอยของวัสดุ ซึ่งจะทำการวัดโดยใช้หัวกดที่มีรูปร่างและขนาดต่างๆ กดลงบนวัสดุ และคำนวณทิศทางของผลการกดที่เกิดขึ้น
Indentation Hardness มีวิธีการที่ใช้ในการวัดความแข็งอย่างหลากหลาย แต่โดยทั่วไปแล้ว ได้แก่ Brinell Hardness Test, Rockwell Hardness Test, Vickers Hardness Test และ Knoop Hardness Test ผลที่ได้จากวิธีการต่างๆ นี้จะไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย 


ลักษณะของหัวกดแบบ Rockwell

Rebound Hardness      Rebound Hardness หรือที่รู้จักกันว่า Dynamic หรือ Absolute Hardness ใช้ในการวัดการคืนรูปของวัสดุ โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Scleroscope

เทคนิคการทดสอบความแข็ง      เดิมเทคนิคในการทดสอบความแข็งมีด้วยกัน 3 วิธี คือ Brinell Hardness, Rockwell Hardness และ Vickers Hardness ซึ่งการทดสอบจะวัดความลึกของหัวกดที่จมลงไปในเนื้อวัสดุ ภายใต้แรงกดและระยะเวลาที่กำหนด ในปัจจุบันวิธีการวัดความแข็ง ได้แก่ Rockwell Hardness, Brinell Hardneess, Vickers Hardness, Knoop Hardness และ Shore



Rockwell hardness Test
      เป็นวิธีการวัดความแข็งโดยการวัดและเปรียบเทียบความลึกของรอยกดบนพื้นผิววัสดุเมื่อมีแรงกดขนาดต่างๆ มากระทำ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ แรงกดนำ (preload) ขนาด 10 กิโลกรัม สำหรับการทดสอบแบบปกติ และขนาด 3 กิโลกรัม เพื่อทำการทดสอบพื้นผิว และใส่เพิ่มเข้าไปให้ได้ แรงกดเต็ม (full load) เป็น 60, 100 หรือ 150 สำหรับการทดสอบแบบปกติ และ 15, 30 หรือ 45 เพื่อการทดสอบพื้นผิว แล้วทำการคำนวณค่าความแข็ง Rockwell หัวกดที่ใช้อาจเป็นลูกเหล็กกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดต่างๆ หรือรูปกรวยที่มีมุม 120 องศา และมีเพชรทรงกลมขนาดรัศมี 0.2 มิลลิเมตรอยู่ที่ปลาย การทดสอบแบบนี้เป็นการทดสอบที่ง่าย รวดเร็ว เหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีความแข็งสม่ำเสมอตลอดชิ้นงาน


การทดสอบแบบ Brinell
      เป็นวิธีการวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของรอยกดที่เกิดจากหัวกดประเภทเหล็กหรือคาร์ไบด์ที่มีรูปร่างเป็นทรงกลมขนาดต่างๆ บนพื้นผิวของวัสดุ แต่โดยทั่วไปมักมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร และแรงกดขนาด 50-3,000 กิโลกรัม แล้วนำไปคำนวณค่าความแข็ง Brinell ตัวเลขต่างๆ ที่ได้จะบอกถึงเงื่อนไขที่ใช้ในการทดสอบ เช่น 75 HBW 10/500/30 หมายความว่า ความแข็ง Brinell มีค่าเท่ากับ 75 หัวกดที่ใช้มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 10 มิลลิเมตร ที่แรงกด 500 กิโลกรัม และใช้เวลาในการกด 30 วินาที เป็นต้น การทดสอบนี้มีข้อจำกัดของวัสดุที่นำมาใช้ทดสอบนั้นต้องมีค่าความแข็งไม่เกิน 650 HBW ถ้ามากกว่านี้ วิธีการแบบ Rockwell และ Vickers จะมีความเหมาะสมมากกว่า
การทดสอบแบบ Brinell จะให้รอยกดที่มีความลึกและกว้างกว่าวิธีการอื่นๆ จึงเหมาะสำหรับการวัดค่าความแข็งของตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ และใช้ได้ทั้งวัสดุที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียว (homogeneous) หรือเนื้อผสม (heterogeneous) เนื่องจากขนาดของรอยกดจะครอบคลุมเฟสหรือองค์ประกอบทั้งหมดของเนื้อวัสดุ

Vickers Hardness Test


ลักษณะของหัวกดแบบ Vickers
      เทคนิคนี้เป็นการพัฒนามาจากการทดสอบแบบ Brinell เพื่อลดปัญหาของความถูกต้องในการวัด หัวกดที่ใช้ในวิธีการนี้ คือ เพชร ซึ่งมีรูปร่างเป็นปิระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส และมีมุมระหว่างผิวหน้าด้านตรงข้ามกันเท่ากับ 136 องศา แรงกดที่ใช้อยู่ระหว่าง 1 กรัม - 100 กิโลกรัม ใช้ระยะเวลากดประมาณ 10-15 วินาที รอยที่เกิดขึ้นมีขนาดเล็กในระดับไมครอนจึงต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ในการช่วยคำนวณความแข็ง
ค่าความแข็งที่ได้จะแสดงออกมาดังเช่น 800 HV/10 ซึ่งหมายถึง มีค่าความแข็ง Vickers 800 และใช้แรงกด 10 กิโลกรัม ค่าความแข็งที่ได้จากวิธีการนี้จะให้ผลที่ชัดเจนและเป็นรูปแบบมากกว่าวิธีการอื่นๆ และสามารถใช้ทดสอบวัสดุได้อย่างหลากหลายทั้งที่มีองค์ประกอบสม่ำเสมอและไม่สม่ำเสมอ

Knoop Hardness Test      วิธีการนี้จะคล้ายคลึงกับวิธี Vickers แต่หัวกดที่ใช้เป็นเพชรรูปร่างปิระมิดที่มีมุมเป็น 130 องศา และ 172 องศา 30 ลิปดา เนื่องจากหัวกดมีลักษณะเรียวยาวจึงสร้างรอยกดที่มีความยาวของเส้นทแยงมุมมากกว่าวิธีการอื่นๆ ถึง 7 เท่า ทำให้สามารถเห็นภาพรอยกดได้อย่างชัดเจนแม้ใช้แรงกดต่ำ เทคนิคนี้จึงเหมาะสำหรับการทดสอบฟิล์มบาง หรือวัสดุที่เปราะแตกง่าย รวมถึงการทดสอบสมบัติที่ขึ้นอยู่กับทิศทาง (anisotropy) ได้

ลักษณะของหัวกดแบบ Knoop
Shore      Shore Scleroscope เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการคำนวณความแข็งของวัสดุในเทอมของความยืดหยุ่น โดยหัวกดที่มีปลายเป็นเพชรจะถูกปล่อยออกจากตำแหน่งความสูงที่กำหนดลงบนส่วนที่ต้องการทดสอบ ค่าความแข็งจะขึ้นอยู่กับความสูงของหัวกดที่กระดอนกลับ วัสดุที่มีความแข็งมาก หัวกดก็จะกระดอนสูง

Shore Scleroscope
      ค่าความแข็ง Shore จะหมายถึงค่าที่วัดความต้านทานของวัสดุที่จะทำให้เกิดรอย ยิ่งค่านี้มีค่าสูงมากเท่าไหร่ จะยิ่งแสดงว่าวัสดุจะเกิดรอยได้ยาก การทดสอบด้วยวิธีนี้เป็นที่นิยมใช้ในการทดสอบความแข็งของพลาสติกและยางเช่นเดียวกันกับวิธีการ Rockwell

วิธีอื่นๆ

      นอกจากวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีวิธีการอื่นๆอีก ได้แก่ Moh Hardness Test ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้สำหรับดูว่าวัสดุสามารถเกิดรอยขีดข่วนจากวัสดุอื่นได้มากน้อยเท่าไหร่วิธีการนี้เหมาะสมสำหรับการวัดความแข็งของแร่ธาตุแต่ไม่เหมาะสำหรับการวัดความแข็งในอุตสาหกรรมเหล็กหรือเซรามิกส์ อีกวิธีคือ Barcol Hardness เป็นวิธีการหาค่าความแข็งโดยการคำนวณจากความสามารถในการต้านรอยที่เกิดจากเหล็กแหลมที่มีโหลดสปริง
สำหรับวิธีการพิจารณาเลือกเครื่องมือการสอบเทียบ และการควบคุมคุณภาพของ Hardness Tester จะกล่าวถึงในตอนต่อไป
เอกสารอ้างอิง

1. http://www.indentec.com/reference.html
2. http://www3.tky.3web.ne.jp/~kb01/E/whatis.html
3. http://www.hardnesstesters.com
4. http://www.calce.umd.edu/general/Facilities/Hardness_ad_.htm
5. 
ดร. จินตมัยสุวรรณประทีป. การทดสอบความแข็ง บางสิ่งที่อาจมองข้าม. LAB.TODAY. ปีที่ 1. ฉบับที่ 5. กรกฎาคม-สิงหาคม2545. 57.
6. http://en.wikipedia.org/wiki/Haedness
7. Unknown, Mandatory Guidance for Calibration Scopes of Accreditation for Hardness Measurements, A2LA, xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:smarttags" />xml:namespace prefix = st1 />12/08/03. http://www.a2fa.org/guidance/Scope_Hardness.pdf.
8. Trevor Sidaway, Hardness Testing - An Integral Part of Quality Control, Materials World, Vol. 12 no. 11 pp. 583-84, November 1994. http://www.amazon.com/details.asp?ArticleID=531

เครื่องวัดความแข็งของยาง( Durometer )  ชนิด เอ (Shore A)


คําสําคัญ ความแข็ง, ยาง, Durometer

         โดยทั่วไปคุณลักษณะทางด้านความแข็ง คือ เรื่องราวของของแข็งที่รู้ข้อสรุปแน่นนอน และได
นํามาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อวัดค่าความแข็งของวัสดุซึ่งจะมีความแตกต่างทางกฎเกณฑและ
จุดมุ่งหมายต่างๆของการใช้งาน ค่าความแข็งคือผลจากการวัดที่มีรูปแบบภายใต้เงื่อนไขของการใชแรง
และชนิดของหัวกดกระทําลงบนพื้นที่ผิวของวัสดุได้รับการบรรจุเข้าสู่ระบบมาตรวิทยาและมีความ
หลากหลายของระบบและหน่วยของการวัด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุเป็นสําคัญใช้เป็นตัวชี้บอกถึง
คุณภาพของผลิตภัณฑและใช้เป็นเครื่องมือหลักในการควบคุมคุณภาพของการผลิตจึงเกิดเป็นนิยามที่มาจาก
พื้นฐานการตรวจสอบที่หลากหลายในปัจจุบัน ซึ่งสามารถสรุปเปนขอกําหนดในทางฟสิกสไดดังนี้
                     1.     เป็นการต้านทานการเคลื่อนที่ของแรงกดหรือน้ำหนักที่กดลงโดยเครื่องมือ
                     2.     เป็นการดูดกลืนพลังงานภายใตการอัดหรือการสะทอนอันเนื่องมาจากความแข็งของวัสดุ
                     3.   เป็นการต้านทานการขูดขีด, ตัด หรือ เจาะ
                     4.   เป็นการต้านทานการทําให้เกิดรอย ฯลฯ
           เครื่องวัดความแข็งในปจจุบันมีหลายชนิดขึ้นกับลักษณะการใชงานและ คุณลักษณะ การใชงาน
และการเลือกชนิดที่ใชตองมีความถูกต้องและเหมาะสมกับระบบการวัดวิเคราะหผลิตภัณฑ เครื่องวัดความ
แข็งของยางชนิด เอ  (Type A) เปนเครื่องวัดวิเคราะหอีกชนิดหนึ่งที่ใชเป็นตัวชี้บอกค่าความแข็งทางด้านยาง
ซึ่งในที่นี้จะกลาวถึงเครื่องวัดความแข็งของยางชนิด เอ ที่ใชเปนมาตรฐานในป็จจุบันและไดรับการผลิตตาม
มาตรฐาน ASTM D 2240,JIS K 6253 กับ มาตรฐาน JIS K 6301 ซึ่งในข้อกําหนดที่เปนมาตรฐานสากล
เครื่องวัดความแข็งชนิดเดียวกันจะตองแสดงหรือพิสูจนใหเห็นไดว่ามีความสอดคล้องของค่าบ่งชี้และ

เป็นไปตามข้อกําหนดของคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องมือชนิดนั้นๆ ซึ่งในเครื่องวัดความแข็งของยางชนิด

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เครื่องวัดเสียง เครื่องวัดความดังเสียง / Admin SJ (Tonan Asia Autotech)

มุมความรู้เรื่องเครื่องวัดเสียง เครื่องวัดความดังเสียง Sound  Meter

เรื่องมาตราฐานเครื่องวัดเสียง

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดเสียงมีหลายชนิด ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะเสียงที่ต้องการประเมิน ส่วนประกอบพื้นฐานของเครื่องวัดเสียงมี 4 ส่วน ดังนี้

1. ไมโครโฟนชนิดทุกทิศทาง (Omnidirectional Microphone)

2. ชุดขยายสัญญาณ (Preamplifier และ Amplifier)

3. ข่ายถ่วงน้ำหนัก (Weighting Networks)

4. มาตรวัด (Meter)

การทำงานของเครื่องวัดเสียง คือ คลื่นเสียงกระทบกับแผ่นไดอะแฟรมของไมโครโฟน ซึ่งแผ่นไดอะเฟรมจะสั่นตามความดันที่มากระทบไมโครโฟน จะทำการเปลี่ยนความดันให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าสู่ชุดวงจรขยาย สัญญาณ(Preamplifier) ขยายสัญญาณและส่งผ่านต่อเข้าไปยังข่ายถ่วงน้ำหนัก (Weighting Networks) (ข่าย A,B,C,F หรือ Z) สัญญาณนี้จะส่งไปปรับขยายสัญญาณอีกครั้งและส่งเข้าสู่มาตรวัด (Meter) เพื่อประมวลผลและอ่านค่าเป็นเดซิเบล

เนื่องจาก เครื่องวัดเสียงมีการผลิตออกมาหลากหลายประเภท ตามวัตถุประสงค์ และความแม่นยำในการใช้ จึงมีการกำหนดมาตรฐานของเครื่องวัดเสียงของประเทศต่างๆ องค์กรที่สำคัญคือ IEC (International Electrotechnical Commission) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับไฟฟ้าและ อิเลกทรอนิกส์ต่างๆ สำหรับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องวัดเสียง มีดังนี้

1. มาตรฐาน IEC 651 :1979   Sound Level Meters


ชนิด 0  ใช้งานสำหรับ Laboratory References standard
ชนิด 1   ใช้วัดเสียงในห้องทดลองและวัดในภาคสนาม
ชนิด 2  วัดเสียงในภาคสนาม
ชนิด 3  วัดเสียงเพื่อการสำรวจเบื้องต้น
หมายเหตุ : ใช้วัดเสียงที่ดังสม่ำเสมอ

2. มาตรฐาน IEC 804 : 1985   Integration – Averaging Sound Level Meters


ชนิด 0  ใช้งานสำหรับ Laboratory References standard
ชนิด 1   ใช้วัดเสียงในห้องทดลองและวัดในภาคสนาม
ชนิด 2  วัดเสียงในภาคสนาม
ชนิด 3  วัดเสียงเพื่อการสำรวจเบื้องต้น
หมายเหตุ : ใช้วัดค่า Leq ของเสียงที่ดังสม่ำเสมอและเสียงที่ดังไม่สม่ำเสมอ

ทั้งนี้เรื่องของมาตรฐานเครื่องวัดเสียง สถาบันต่างๆได้มีการกำหนดมาตรฐานสอดคล้องกับมาตรฐานของ IEC ดังนี้

สถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา( ANSI ) ได้กำหนดมาตรฐาน ANSI S.14-1983 ใกล้เคียงกับ IEC 651 : 1979

สถาบันมาตรฐานสหราชอาณาจักร( BSI ) ได้กำหนดมาตรฐาน BS EN 60651 ใกล้เคียงกับ IEC 651 : 1979 และ BS EN 60840 ใกล้เคียงกับ IEC 804 : 1985

ที่มา : คู่มือการอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ

 วัดเสียง

วัดเสียง(NC – Noise Criterion)

nc 30
nc 30
เสียงดังที่เกิดขึ้นในระบบปรับอากาศและระบายอากาศนั้น เกิดจากทั้งแอร์เสียงดัง และเสียงดังจากพัดลมระบายอากาศในห้องน้ำ ต่างสร้างความรำคาญไม่น้อยกับผู้อยู่อาศัย หรือที่ทำงานก่อนที่จะรู้ถึงวิธีวัดเสียง และการแก้ไขหรือลดเสียงที่เกิดขึ้น เราต้องรู้ถึงที่มาของเสียงเสียก่อน
ประเภทของเสียง
1. เสียงดังแบบต่อเนื่อง (Continuous Noise) เป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำแนกออกเป็น2 ลักษณะ คือ เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) และเสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่ (Nonsteady State Noise)
1.1 เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มีระดับเสียง เปลี่ยนแปลงไม่เกิน 3 เดซิเบล เช่น เสียงจาก เครื่องทอผ้า เครื่องปั่นด้าย เสียงพัดลม เป็นต้น
1.2 เสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่ (Non-steady State Noise) มีระดับเสียงเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 10เดซิเบล เช่น เสียงจากเลื่อยวงเดือน เครื่องเจียร เป็นต้น
2. เสียงดังเป็นช่วงๆ (Intermittent Noise) เป็น เสียงที่ดังไม่ต่อเนื่อง มีความดังหรือเบากว่า เป็นระยะๆ สลับไปมา เช่น เสียงเครื่องปั๊ม/อัดลม เสียงจราจร เสียงเครื่องบินที่บินผ่านไปมา เป็นต้น
3. เสียงกระทบหรือกระแทก (Impact or Impulse Noise) เป็นเสียงที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็วในเวลาน้อยกว่า 1 วินาที มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงมากกว่า 40 เดซิเบล เช่น เสียงการตอก เสาเข็ม การปั๊มชิ้นงาน การทุบเคาะอย่างแรง เป็นต้น  จาก http://www.npc-se.co.th
เสียงรบกวนที่ก่อให้เกิดความรำคาญใจ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน จนก่อให้เกิด”มลพิษทางเสียง”จนทำให้มีกฏหมายออกมาเพื่อควบคุม และกำจัดการก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนปี 2543ได้มีกฏหมายในการตรวจสอบเสียงรบกวน จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 17 เรื่องค่าระดับเสียงรบกวน และประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องกำหนดวิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐานและระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวนระดับเสียงขณะมีการรบกวน ต่อมาได้มีการปรับวิธีตรวจวัดและประเมินผล โดยประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 พ.ศ.2550ใจความสำคัญของประกาศฉบับนี้ก็คือ”ให้กำหนดค่าระดับเสียงรบกวนไว้ที่ 10 เดซิเบล เอ หากระดับการรบกวนที่คำนวณได้มีค่ามากกว่าค่าระดับเสียงรบกวนตามวรรคแรกให้ถือว่าเป็นเสียงรบกวน”
อ่านทั้งหมดที่นี่  http://www.aqnis.pcd.go.th/noise/noise/regulation_th/annoyance_noise.html
ค่าระดับเสียงที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ(NC – Noise Criterion)
ห้องที่ต้องการความเงียบมาก ต้องไม่มีเสียงรบกวน เช่น ห้องบันทึกเสียง ห้องบันทึกเทปโทรทัศน์   NC 15-20
ห้องที่ต้องการความเงียบ เหมาะสำหรับการอนนเช่น บ้าน โรงแรม  NC 25-35
ห้องที่มีผู้คนอาศัยใช้ประโยชน์หลายคน เช่น ห้องทำงาน ห้องเรียน ห้องสมุด NC 30-40
More info :

ประเภทของเครื่องวัดเสียง

เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจวัดเสียงมีหลายชนิด ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะเสียงที่ต้องการประเมิน ดังนี้

1. เครื่องวัดระดับความดังของเสียง (Sound Level Meter)

sound level meter
เป็นเครื่องมือในการวัดระดับเสียง สามารถวัดระดับเสียงได้ตั้งแต่ 40 – 140 เดซิเบล โดยทั่วไปผู้ผลิตจะผลิตเครื่องวัดเสียงที่สามารถวัดระดับเสียงได้ 3 ข่ายถ่วงน้ำหนัก  (Weighting Networks) คือ A ,B และ C ข่ายที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ ข่าย A เพราะเป็นข่ายตอบสนองต่อเสียงคล้ายคลึงกับหูคนมากที่สุด  หน่วยวัดของเสียงที่วัดด้วยข่าย A คือ เดซิเบลเอ (dBA)
เครื่องวัดระดับเสียงที่ใช้ในการประเมินระดับเสียงในสถานประกอบกิจการตามกฏหมายอย่างน้อยต้องสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 651  Type 2 (International electrotechnical Commission 651 type 2) หรือเทียบเท่า เช่น ANSI S 1.4 , BS EN 60651 , AS/NZS 1259.1 เป็นต้น หรือ ดีกว่า เช่น IEC 804 , IEC 61672 , BS EN 60804 , AS/NZS 1259.2 เป็นต้น

2. เครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทก ( Impulse or Impact Noise Meter)

เสียงกระทบหรือกระแทกเป็นเสียงที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ แล้วหายไปเหมือนกับเสียงปืน เช่น เสียงตอกเสาเข็ม เครื่องวัดระดับเสียงโดยทั่วไป อาจมีความไวไม่เพียงพอในการตอบสนองต่อเสียงกระแทก จึงควรใช้เครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทกโดยเฉพาะ
เครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทก ต้องมีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 61672 หรือ IEC 60804 หรือ ANSI S 1.43 หรือเทียบเท่า หรือดีกว่า

3. เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม (Noise Dosimeter)
noise dosimeter

เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาอำนวยความสะดวกในการประเมินการสัมผัสเสียงที่ีมีระดับความดังเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ตลอดระยะเวลาการทำงาน โดยเครื่องวัดชนิดนี้ จะทำการบันทึกระดับเสียง ระยะเวลาที่ได้สัมผัสที่ระดับความดังต่างๆ ตลอดเวลาที่พนักงานได้รับ พร้อมคำนวนปริมาณเสียงสะสมที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับ (ค่า D มีหน่วยเป็นร้อยละ) และหรือค่าเฉลี่ยของระดับความดังตลอดเวลา ที่เครื่องวัดนี้ทำงาน
เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม ต้องมีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 61252 หรือเทียบเท่า หรือดีกว่า

4. เครื่องวิเคราะห์ความถี่เสียง (Frequency Analyzer)

Frequency Analyzer
เนื่องจากเครื่องมือวัดระดับเสียงทั่วไป ไม่สามารถบอกความดังเสียงในช่วงความถี่ต่างๆได้ แต่เครื่องวิเคราะห์ความถี่เสียง สามารถวิเคราะห์ความดังเสียงในแต่ละความถี่ได้ แล้วนำผลการตรวจวัดไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการควบคุมเสียง (Noise Control) เช่น การเลือกใช้วัสดุดูดซับเสียงหรือการปิดกั้นทางผ่านของเสียง และการเลือกปลั๊กอุดหูหรือที่ครอบหูที่เหมาะสมได้ เป็นต้น
เครื่องวิเคราะห์ความถี่เสียงต้องมีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 61260 หรือเทียบเท่า หรือดีกว่า
นอกจากในส่วนของเครื่องมือในการตรวจวัดเสียงแล้ว อุปกรณ์ประกอบการตรวจวัดเสียงก็มีความสำคัญ เพื่อให้ได้ค่าการวัดที่ถูกต้องแม่นยำ

อุปกรณ์ประกอบการตรวจวัดเสียง

1. อุปกรณ์ปรับความถูกต้องของเครื่องวัดเสียง (Noise Calibrator)
noise calibator
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับเทียบความถูกต้องของเครื่องวัดเสียง โดยปฏิบัติตามวิธีการที่ระบุในคู่มือการใช้งานของบริษัทผู้ผลิต ก่อนการใช้งานทุกครั้ง
อุปกรณ์ปรับความถูกต้องของเครื่องวัดเสียง ต้องมีคุณลักษณะสอดคล้องกบมาตรฐาน IEC 60942 หรือ เทียบเท่า หรือดีกว่า

2. ฟองน้ำกันลม (wind Screen)
wind screen
กระแสลมแรงมีผลทำให้การวัดระดับเสียงเกิดความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ดังนั้นขณะตรวจวัดระดับเสียงในบริเวณที่มีลมพัด เช่น ใกล้กับพัดลม ต้องสวมฟองน้ำกันลมที่ไมโครโฟนทุกครั้งและตลอดเวลาการตรวจวัด ฟองน้ำนี้นอกจากจะป้องกันกระแสลมแล้วยังสามารถป้องกันฝุ่น หรือละอองน้ำหรือสารเคมีอื่นไม่ให้เกิดความเสียหายต่อไมโครโฟรของเครื่องวัดระดับเสียงด้วย

3. ขาตั้ง (Tripod)

sound-level-meter-tripod
มีลักษณะเหมือนขาตั้งกล้องถ่ายรูป สำหรับใช้ในกรณีเครื่องวัดระดับเสียงมีขนาดใหญ่หรือต้องใช้ระยะเวลานานในการตรวจวัดแต่ละจุด
ข้อควรระวังในการใช้เครื่องวัดเสียง
เครื่องวัดเสียงเป็นเครื่องมือที่ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ มีความบอบบางต่อแรงกระแทก ดังนั้นจะต้องระมัดระวังในการใช้งานไม่ให้ตกหล่น หรือกระแทกกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด
การนำไปใช้งานในภาคสนาม ต้องบรรจุเครื่องมือในกระเป๋าบรรจุเครื่องวัดระดับเสียงโดยเฉพาะ หลังจากใช้งานแล้วต้องเช็ดทำความสะอาดและถอดแบตเตอรี่ออกทุกครั้ง ป้องกันแบตเตอรี่เสื่อมสภาพหรือมีของเหลวไหลจากแบตเตอรี่ทำให้วงจรไฟฟ้าภายในเครื่องวัดเสียงเสียหาย
นอกจากนี้การเก็บเครื่องวัดเสียงจะต้องไม่เก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิสูง และควรศึกษารายละเอียดของเครื่องวัดระดับเสียงในคู่มือการใช้เครื่องมือ เพื่อให้ทราบข้อจำกัดในการใช้งาน เช่น ข้อจำกัดในเรื่องของอุณหภูมิ และความชื้น เป็นต้น
Tagged with: เครื่องวัดเสียง


ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก http://www.engineerthailand.com/soundmeter.html

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โต๊ะแกรนิต,โต๊ะระดับแกรนิต,โต๊ะระดับ,โต๊ะระดับหิน,โต๊ะระดับเหล็ก / Admin SJ (Tonan Asia Autotech)

โต๊ะแกรนิต,โต๊ะระดับแกรนิต,โต๊ะระดับ,โต๊ะระดับหิน,โต๊ะระดับเหล็ก, 





โต๊ะแกรนิต,โต๊ะระดับแกรนิต,โต๊ะระดับ,โต๊ะระดับหิน,โต๊ะระดับเหล็ก, 
- Granite Surface Plate โต๊ะแกรนิต 
- Cast iron Surface Plate โต๊ะระดับเหล็ก 

สั่งทำตามขนาดที่ระบุตาม website คุณภาพดี มีมาตรฐาน ราคาเป็นธรรม 
***กรุณาบอก ด้วยนะค่ะว่าทราบAdโฆษณานี้จากไหน ขอบคุณค่ะ *** 

บริษัท โทนัน อาเชีย ออโต้เทค จำกัด 
ติดต่อ สอบถาม ฝ่ายขาย มือถือ: 08-6374-5568 
ที่ทำงาน: 0-2565-9370 
E-mail : marketing@tonanasia.com 

Click to Website >> http://www.tonanasia.com

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Magnifying lamp,Magnifier lamp,โคมไฟแว่นขยาย,โคมไฟเลนส์ขยาย,บ.โทนัน อาเชีย ออโต้เทค/ ADMIN - SJ (TONAN ASIA AUTOTECH)

Magnifying lamp,Magnifier lamp,โคมไฟแว่นขยาย,โคมไฟเลนส์ขยาย





Magnifying Lamp,Magnifier lamp,โคมไฟแว่นขยาย,โคมไฟขยาย, 

-Clamp Magnifying Lamp โคมไฟแว่นขยายหนีบโต๊ะ 
-Desk Magnifying Lamp Swing type โคมไฟแว่นขยายตั้งโต๊ะ 
-Desk Magnifying Lamp XY type โคมไฟแว่นขยายตั้งโต๊ะ 
-Floor Magnifying Lamp โคมไฟแว่นขยายตั้งพื้น 

Features: 
- Lens diameter 125mm 
- Ring Lamp 22W 
- Magnification x3 x5 x8 x10 
*** กรุณาบอกด้วยนะค่ะว่าทราบ Ad โฆษณานี้จากweb pantip.com ขอบคุณค่ะ *** 

บริษัท โทนัน อาเชีย ออโต้เทค จำกัด 
E-Mail : marketing@tonanasia.com 
ติดต่อสอบถาม ฝ่ายขาย: 0-2565-9370 
มือถือ: 08-6374-5568 
Click to website: http://www.tonanasia.com

ประวัติวันสุนทรภู่ / Admin SD (Tonan Asia Autotech)

ประวัติวันสุนทรภู่
                  ประวัติวันสุนทรภู่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุนทรภู่ตั้งแต่เกิดตราบจนถึงวันสิ้นชีวิต และประวัติ       วันสุนทรภู่ ยังเป็นเรื่องราวว่าทำไมถึงต้องมีวันสุนทรภู่เป็นประจำทุกปีด้วย หลายๆคนคงจะทราบกนดีอยู่แล้วว่าสุนทรภู่เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นและมีผลงานประพันธ์ที่มีคุณค่าแก่แผ่นดินมากมาย และยังได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลกอีกด้วย แต่ใครจะรู้ถึง ประวัติวันสุนทรภู่ ในเรื่องราววัยเด็ก ครอบครัว และการทำงานของเขาจนประสบความสำเร็จนั้นต้องผ่านอะไรมาบ้าง วันนี้เรามีประวัติวันสุนทรภู่ในช่วยวัยต่างๆมาบอกเล่าให้เพื่อนๆได้ฟังกันค่ะ
ประวัติวันสุนทรภู่

ประวัติวันสุนทรภู่

ประวัติสุนทรภู่

สุนทรภู่ มีชื่อเดิมว่า ภู่ เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (ซึ่งเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบันนี้) บิดาของสุนทรภู่ชื่อพ่อพลับเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาชื่อแม่ช้อยเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา (สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง) เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำอันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้นสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม
วัยเด็กสุนทรภู่ได้ร่ำเรียนหนังสือกับพระในสำนักวัดชีปะขาว (ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามในรัชกาลที่ 4 ว่า วัดศรีสุดาราม อยู่ริมคลองบางกอกน้อย) ต่อมาสุนทรภู่ได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่น นอกจากแต่งบทกลอน สุนทรภู่สามารถแต่งบทกลอนได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักการแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ก็ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานไว้
ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงขั้นให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง การเดินทางครั้งนี้สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศเมืองแกลง พรรณนาสภาพการเดินทางต่างๆเอาไว้โดยละเอียด และลงท้ายเรื่องว่าแต่งมาให้แก่แม่จัน เป็นขันหมากมิ่งมิตรพิสมัยในนิราศเมืองแกลงนี้ได้บันทึกสมณศักดิ์ของบิดาของสุนทรภู่ไว้ด้วยว่าเป็น พระครูธรรมรังษี เจ้าอาวาสวัดป่ากร่ำ สุนทรภู่และแม่จันมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ พ่อพัด ซึ่งได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอจนภายหลังก็เลิกรากันไป
หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชาที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และก็ได้แต่ง นิราศพระบาท พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจากแต่งนิราศพระบาทจบก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆของสุนทรภู่อีกเลย
จนกระทั่งเข้ารับราชการในปีพ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และสุนทรภู่เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่องรามเกียรติ์ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯเลื่อนให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร
ต่อมาในราวพ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายญาติผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไม่นานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัย ภายหลังพ้นโทษสุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และเชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่องสวัสดิรักษา ในระหว่างรับราชการอยู่นี้สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อพ่อตาบ
สุนทรภู่รับราชการได้เพียง 8 ปี เมื่อถึงปีพ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆหลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ วัดแจ้ง วัดโพธิ์ วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆมากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดารามในพ.ศ. 2385
ทั้งนี้ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษาก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม สุนทรภู่รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี และแต่งเสภาพระราชพงศาวดาร บทเห่กล่อมพระบรรทม และบทละครเรื่อง อภัยนุราชถวาย รวมถึงยังแต่งเรื่องพระอภัยมณีถวายให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพด้วย
เมื่อถึงปีพ.ศ. 2394 ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง)  สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ช่วงระหว่างเวลานี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเพิ่มอีก 2 เรื่อง คือ นิราศพระประธม และ นิราศเมืองเพชร สุนทรภู่พำนักอยู่ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) มีห้องส่วนตัวเป็นห้องพักกั้นเฟี้ยมที่เรียกชื่อกันว่า ห้องสุนทรภู่ เชื่อกันว่าสุนทรภู่พำนักอยู่ที่นี่ตราบจนสิ้นชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2398 สิริรวมอายุได้ 69 ปี
ทายาทของสุนทรภู่เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ พ่อพัด เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน พ่อตาบ เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ พ่อนิล เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ พ่อกลั่น และ พ่อชุบ อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า ภู่เรือหงส์
ประวัติที่มาของวันสุนทรภู่
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เป็นผู้มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลกในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไปประจำทุกปี เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฏแก่มวลสมาชิกทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ

ในการนี้รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่อง สุนทรภู่ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้นทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น วันสุนทรภู่นับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ ณ วัดเทพธิดาราม และ ที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆโดยทั่วไป
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.manager.co.th

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Thickness Gauge / ADMIN - SJ (TONAN ASIA AUTOTECH)

Thickness Gauge,จำหน่ายสินค้ากลุ่มเครื่องมือวัด Moore&Wright คุณภาพจากยุโรป บ.โทนัน อาเชีย ออโต้เทค 
ตัวแทนจำหน่ายสินค้าคุณภาพจากยุโรป Moore&Wright ในกลุ่มเครื่องมือวัดโดยตรง 
Vernier Caliper,Micrometer, Height Gauge, Depth Gauge, Indicator, Dial Test Indicator, Steel Gauge Blocks, Ceramic Gauge Blocks, Individual Gauge Blocks, Granite Surface Plate, Feeler Gauge, Bore Gauge, Etc. 

Digitronic Thickness Gauge 
- For quick measurement of thickness 
- Features "easy to read" large 7.5mm character height,digital display 
- Model design 
- "soft key" for maximum operating comfort 
- Function: mm/inch conversion, on/off, zero-setting,battery low indication 
- Parallelism of the measuring surfaces < 0.004mm 




สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท โทนัน อาเชีย ออโต้เทค จำกัด 
02-565-9370 หรือสายตรง 086-3745568 ได้เลยคะ มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ จันทร์-ศุกร์ 
ตั้งแต่ เวลา 8.30 น. - 17.30 น.


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.tonanasia.com

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แอ่วเหนือได้ประโยชน์กับน้ำพริกอ่อง / ADMIN - SJ (TONAN ASIA AUTOTECH)



แอ่วเหนือได้ประโยชน์กับน้ำพริกอ่อง
















น้ำพริกเป็นเมนูอาหารพื้นบ้านที่มีรูปแบบแตกต่างกันไปตามแต่ละภาคและพื้นที่ ด้วยน้ำพริกเป็นเมนูที่มีส่วนประกอบจากเครื่องปรุงที่หาได้ทั่วไปตามแต่ละท้องถิ่น ปรุงได้ง่ายและเก็บได้นาน และมีรสชาติที่อร่อยถูกปาก ทานกับข้าวหรือทานกับผักเคียงก็อร่อย แถมได้คุณค่าทางอาหาร และเป็นเมนูที่มีไขมันและพลังงานไม่สูงมากนัก ซึ่งเมนูวันนี้ขอนำเสนอ น้ำพริกตามแบบฉบับชาวเหนือ ที่มีรสชาติอร่อยครบรส เปรี้ยว เค็ม หวาน นั้นคือ น้ำพริกอ่องนั้นเอง

น้ำพริกอ่องแบบชาวเหนือ

น้ำพริกอ่องถือเป็นน้ำพริกที่นิยมทานกันในภาคเหนือของไทย เป็นน้ำพริกชนิดผัดผ่านความร้อน มีน้ำขลุกขลิก ลักษณะคล้ายๆน้ำพริกแกงส้มของทางภาคกลาง โดยน้ำพริกอ่องนั้นจะมีส่วนประกอบหลักๆคือ เครื่องสมุนไพร ถั่วเน่า และ มะเขือส้ม ด้วยประโยชน์ของส่วนประกอบจึงนำเมนูนี้มาดัดแปลงโดยการลดความมันลง และเลือกเครื่องเคียงที่จะนำมาทานด้วยอย่างผักสดๆ ก็ทำให้น้ำพริกอ่องมันเยิ้มในจินตนาการกลายเป็น อาหารเพื่อสุขภาพที่เต็มไปด้วยคุณค่าอาหารจานนึงเลยทีเดียว

ส่วนผสมและอุปกรณ์

  • หมูสับไม่มัน 200 กรัม ส่วนนี้ให้พลังงาน 290 kcal
  • มะเขือส้ม หรือ มะเขือเทศสีดา 10-15 ผล หั่นครึ่ง ส่วนนี้ให้พลังงาน 45 kcal
  • ต้นหอมซอย 1 ต้น ส่วนนี้ให้พลังงาน 2 kcal

ส่วนผสมสำหรับทำเครื่องแกงน้ำพริกอ่อง

  • กะปิ 1 ช้อนแกง ส่วนนี้ให้พลังงาน 20 kcal
  • พริกแห้งดอกใหญ่ เผ็ดตามความชอบ
หอมแดง 7 หัว ส่วนนี้ให้พลังงาน 10 kcal
  • กระเทียม 5 กรีบ ส่วนนี้ให้พลังงาน 6 kcal
  • ถั่วเน่า หรือ เต้าเจี้ยวดำ 1 ช้อนเเกง ส่วนนี้ให้พลังงาน 33 kcal (ใส่ก็ได้ไม่ส่ก็ได้)
  • น้ำตาลตะโหนด เล็กน้อย ส่วนนี้ให้พลังงาน 15 kcal
  • น้ำมันรำข้าว 1 ช้อนชา ส่วนนี้ให้พลังงาน 60 kcal

วิธีการทำน้ำพริกอ่อง

เริ่มจากการโขลกเครื่องแกงเสียก่อนโดยนำหอมแดง กระเทียม พริกแห้ง กระปิ และ ถั่วเน่า โขลกให้ละเอียด จากนั้นนำกระทะตั้งไฟเติมน้ำมันรำข้าวลงไป นำเครื่องแกงที่โขลกไว้ลงผัด ตามด้วยหมูสับ ผัดให้สุก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วเติมมะเขือส้มลงไป ผัดจนมะเขือสุกนิ่ม ตัดความเค็มด้วยน้ำตาลตะโหนดเล็กน้อย ชิมรสให้ได้ 3 รส ตักขึ้นโรยด้วยต้นหอมซอย ถือเป็นเสร็จสิ้นกระบวนการ
เสิร์ฟพร้อมกับผักสดอย่าง แตงกวา ผักกาดขาว ทานคู่กับข้าวกล้อง หรือไข่ต้มก็เข้ากัน พลังงานตามสูตรอยู่ที่ 481 kcal สำหรับเมนูนี้อาจมีปริมาณโซเดี่ยมซักหน่อย จึงควรบริหาร เครื่องเคียงที่ทานคู่กันให้เหมาะสม และควรหลีกเลี่ยงเครื่องเคียงสุดอ้วนอย่างแคปหมูจะดีกว่า

แหล่งข้อมูล : http://www.lovefitt.com