วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

วันวิสาขบูชา 20/05/2559

วิสาขบูชา วันอัศจรรย์ของชาวพุทธ

วันวิสาขบูชา มีความหมายว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 แต่ถ้าปีใดมีอธีกมาส คือ มีเดือน 8 สองหนก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7
ความสำคัญของวันวิสาขบูชา เป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า คือ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน แม้แต่ละเหตุการณ์จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันเป็นเวลาหลายสิบปี แต่ก็เกิดขึ้นในวันเดียวกัน คือขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 นับเป็นสิ่งอัศจรรย์และถือเป็นวันสำคัญอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของวันประสูติ พระนางสิริมหามายาได้ประสูติพระโอรสใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพิณีวัน ซึ่งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ในขณะที่นางเสด็จไปประทับ ณ กรุงเทวทหะเพื่อประสูติพระโอรสของนาง และเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ แต่ได้ประสูติพระโอรสเสียก่อน ในเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของวันตรัสรู้ เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา หลังจากออกผนวชได้ 6 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของวันปรินิพพาน หลังจากตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานในวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6

ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย

วันวิสาขบูชา มีหลักฐานปรากฏว่า ได้มีมาตั้งแต่เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และมีการสันนิษฐานว่า ถูกเผยแพร่มาจากศรีลังกา กล่าวไว้ว่า ประมาณ พ.ศ. 420 กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธี วิสาขบูชา อย่างมโหฬารเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และสืบเนื่องต่อๆมาจนถึงปัจจุบัน
สมัยสุโขทัยนั้น พระสงฆ์ชาวลังกาได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย จึงเชื่อได้ว่ามีการนำพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์สูงกว่าอำนาจของพุทธศาสนา จึงไม่มีหลักฐานปรากฏ ว่าได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีพระราชประสงค์ให้ฟื้นฟูการประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ
ดังนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูลภาพจาก www.xn--89-lqic6g3a6b4acd2bh0b1bzc4cl3rc3ao6n.com

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

5 พฤษภาคม 2559 ..วันฉัตรมงคล





5 พฤษภาคม..วันฉัตรมงคล ขอทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน 

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ


ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหาร และพนักงาน 

บริษัท โทนัน อาเชีย ออโต้เทค จำกัด

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

`ฮีตสโตรก`ร้อนจัดถึงตายได้



`ฮีตสโตรก`ร้อนจัดถึงตายได้ !!

ในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ ซึ่งอุณหภูมิเฉียด 40 องศาเซลเซียส เรื่องของสุขภาพที่ประมาทไม่ได้คือโรคลมแดดหรือที่เรียกว่า ฮึตสโตรก เพราะหากคนเราได้รับความร้อนที่มากเกินไปร่างกายปรับสภาพไม่ทันอาจส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมองได้

นายแพทย์จิโรจ สินธวานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงนี้ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา โดยเฉพาะโรคฮึตสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงและได้รับความร้อนมากเกินไปทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของสมองในส่วนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทำให้มีอุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมอง

สัญญาณเตือนที่สำคัญของโรคฮึตสโตรก คือไม่มีเหงื่อออกแม้จะอากาศร้อน หน้าแดง ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน เกร็งกล้ามเนื้อ ชัก มึนงง สับสน รูม่านตาขยาย ความรู้สึกตัวลดน้อยลง อาจหมดสติ หัวใจเต้นเร็วแต่แผ่วเบา ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องและทันเวลาอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นและถึงแก่ชีวิต ซึ่งแตกต่างจากอาการเพลียแดดทั่วๆ ไปที่จะมีเหงื่อออกด้วย สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคฮึตสโตรก คือ ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ที่อดนอน ผู้ที่ดื่มเหล้าจัด ผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น และผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน รวมถึงนักกีฬาและทหารที่เข้ารับการฝึกโดยไม่มีการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมที่จะเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด

สำหรับการปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคฮึดสโตรก คือ ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้าน ในวันที่มีอากาศร้อนจัดควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา และสามารถระบายอุณหภูมิความร้อนได้ดีและป้องกันแสงแดดได้ และหากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนหรือออกกำลังกลางสภาพอากาศร้อนควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม และแม้จะทำงานที่ร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว

ก่อนออกจากบ้านควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะก่อนการออกกำลังกายหรืออยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาเสพติดทุกชนิด ในเด็กเล็กและคนชราควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยให้อยู่ในห้องที่มีอากาศระบายได้ดี และไม่ให้เด็กหรือคนชราอยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพังในกรณีที่จะต้องไปทำงานท่ามกลางสภาพอากาศทีร้อนจัดควรเป็นบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงโดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เพื่อให้ร่างกายเคยชินกับสภาพอากาศร้อนจัด

ทั้งนี้ หากพบเจอผู้เป็นโรคฮึตสโตรกสามารถช่วยเหลือเบื้องต้น โดยนำเข้าในที่ร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถ้ามีการอาเจียนให้นอนตะแคงก่อน เมื่ออาเจียนแล้วให้นอนหงาย คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่นออก ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นๆหรือน้ำแข็งประคบตามซอกลำตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ เพื่อระบายความร้อนร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน ราดน้ำเย็นลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลง ให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทน แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

 ขอบคุณแหล่งข้อมูล ที่มา http://line.me/ti/p/%40eoz4120m