วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ" เหตุเพราะเป็นวันที่สหกรณ์แห่งแรกในประเทศไทย คือสหกรณ์ "วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้" ที่อำเภอเมือง จังหวัด พิษณุโลกได้รับการจดทะเบียนจากกรมหมื่นพิทยาลงกรณ(นายทะเบียนสหกรณ์ในขณะนั้น) เป็นนายทะเบียนสหกรณ์พระองค์แรกของไทย ซึ่งเป็นนิติบุคคลสหกรณ์แห่งแรกในสยามประเทศ
ความเป็นมา
สหกรณ์ถือกำเนิดมาจากปัญหาในปลายสมัยรัฐกาลที่ 5 ซึ่งขณะนั้นอาชีพหลักของประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทย คือการทำนา เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น นับเนื่องตังแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ทำให้ระบบ "เพื่อเลี้ยงตัวเองในชนบท" มาสู่ระบบเศรษฐกิจ "เพื่อการค้า" ความต้องการเงินทุนเพื่อขยายการผลิตและการครองชีพเพิ่มมากขึ้น ประชากรส่วนใหญ่ 85 เปอร์เซ็นต์เป็นเกษตรกรอยู่ในฐานะยากจน ขาดแคลนเงินทุนต้องกู้หนี้ยืมสินจากพ่อค้านายทุน "คหบดี" ซึ่งมักถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ให้กู้ยืมเหล่านี้ทุกวิถีทาง เช่น การกำหนดดอกเบี้ยในอัตราสูง การทำสัญญาส่งใช้เป็นข้าวเมื่อเก็บเกี่ยงแล้ว ในเรื่องช่างตวงวัดก็กำหนดเอาตามพอใจ ทำให้ชาวไร่ชาวนาเสียเปรียบเป็นอย่างมาก
ระยะแรก การสหกรณ์ในประเทศไทยเริ่มต้นด้วยการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ประเภทหาทุนขึ้นใน ปีพ.ศ.2459 การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกจึงดำเนินไปอย่างช้าๆ จนถึงสิ้น ปีพ.ศ.2470 ซึ่งเป็นเวลา 12 ปี นับตั้งแต่เริ่มนำสหกรณ์เข้ามาในประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทนี้ขึ้นมาเพียง 81 สมาคมเท่านั้น ซึ่งจัดตั้งอยู่ใน 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก ลพบุรีและอยุธยา โดยมีเงินทุนให้กู้ยืมเพียง 300,000 บาทเศษ เมื่อเป็นที่ประจักษ์ว่าสหกรณ์เป็นสิ่งที่สามารถจัดทำได้สำเร็จ จึงประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2471 ขึ้น และจัดหาทุนมาให้กู้ยืมมากขึ้น หลังจากนั้น 5 ปี ได้มีการขยายสาขาออกไปได้อีก 7 จังหวัด เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 การสหกรณ์จึงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสหกรณ์ มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทอื่นๆ ขึ้น เช่น สหกรณ์ออมทรัพยร์ สหกรณ์ที่ดิน ร้านสหกรณ์ ต่อมาสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ขยายงานสหกรณ์จากระดับกรมขึ้นมาเป็นระดับกระทรวง เมื่อปี พ.ศ.2495 ระยะอยู่ตัว หลังจากปี พ.ศ.2497 อัตราการขยายตัวของสหกรณ์ลดลงเนื่องจาก เป็นระยะที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสหกรณ์มาก่อน จนไม่สามารถจะดูแลให้ทั่วถึง ในขณะเดียวกันกระทรวงสกหรณ์ถูกยุบไปรวมกับกระทรวงการพัฒนาการแห่งชาติ ขาดกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพ
การเปลี่ยนแปลงของสหกรณ์คือมีการยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2515 ซึ่งมีผลทำให้กรมสหกรณ์ทีดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ และสำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเดิม ถูกยุบมารวมเป็น "กรมส่งเสริมสหกรณ์" เพียงกรมเดียว ส่วนกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ยังคงอยู่ในฐานะเดิมเพราะงานตรวจสอบบัญชีเป็นงานอิสระ กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ขึ้นกับกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2515
ผลการดำเนินงานทางสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้รับความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์ จำนวนสมาชิก ปริมานเงินทุน และผลกำไรของสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันสหกรณ์ ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2542 ประมาณ 5,549 สหกรณ์ และสมาชิก 7,835,811 ครอบครัวของสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมี ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ ของประเทศโดยเฉพาะต่อประชาชนที่ยากจน สหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชานให้ดีขึ้น
รัฐและขบวนการสหกรณ์ไทยได้ร่วมจิตใจจัดงาน "วันสหกรณ์แห่งชาติ" ขึ้นเป็นประจำทุกปีไม่ว่าจะศก.ปีใด จัดขึ้นเพื่อร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาคุณขององค์ผู้ให้กำเนิด"สหกรณ์" พระองค์ท่านไม่ใช่เป็นเพียงผู้รับจดทะเบียนเท่านั้น แต่เป็น "พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย" ยังเป็นผู้ปูพื้นฐานและทรงเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่และจัดตั้งขยายกิจการการสร้างความผาสุกแก่ประชาชนเพื่อการกินดีอยู่ดี เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ
อ้างอิง
วันสหกรณ์แห่งชาติ2535 สำนักหอสมุดมหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์
สมัย รื่นสุข. การสหกรณ์. กรุงเทพฯ : แพร่วิทยา, มปป.
http://www.tungsong.com/
แหล่งที่มา : http://www.lib.ru.ac.th/journal/feb/feb26-CooperativeDay.html
แหล่งรวมสินค้า อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือวัดขนาดเล็ก เครื่องมือทดสอบขนาดใหญ่ สินค้าที่ใช้ในโรงงาน พร้อมทั้ง อลูมิเนียมโปรไฟล์ อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่นโคมไฟแว่นขยาย และอื่นๆอีกมากมาย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
“Lost Stars” Please don’t see just a boy caught up in dreams and fantasies ได้โปรดอย่ามองเห็นผมเป็นเพียงแค่เด็กชายที่หลงไหลอยู่ในโลกแ...
-
Dial Gauge (นาฬิกาวัด) การใช้นาฬิกาวัดชนิดมาตรฐานและชนิดคาน ภาพที่ 8.10 ขาตั้งนาฬิกาวัด นาฬิกาวัดทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถจะใช้ได้เองโด...
-
ใบวัดมุม (Bevel Protractor) 7.1.1 ลักษณะส่วนประกอบของใบวัดมุม ลักษณะงานที่ใช้วัดด้วยใบวัดมุม การผลิตชิ้นงานให้ได้ขนาดตามแบบกำหนดบางครั้งจะ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น