วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันทหารผ่านศึก 2559



วันทหารผ่านศึก


 ความสำคัญของวันทหารผ่านศึกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ "อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ"   ซึ่งวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ไม่ได้เป็นเพียงแค่วันทหารผ่านศึกเท่านั้น เพราะอนุสรณ์สถานอย่างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จะต้องมีการวางพวงมาลา บุคคลสำคัญของประเทศเพื่อให้เหล่าชาวไทยได้ร่วมคารวะดวงวิญญาณของทหารหาญและเหล่าวีรชนคนกล้า ที่มีชื่อจารึกอยู่บนอนุสาวรีย์ และเพื่อเป็นการเทิดเกียรติแก่คนเหล่านั้นที่ได้เสียสละชีพเพื่อชาติ และปกป้องอธิปไตยของชาติไทยในเหตุการณ์พิพาทระหว่างไทยและฝรั่งเศส ในการเรียกร้องดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงคืน 

ความหมายของวันทหารผ่านศึก

คือวันที่ประชาชนทั่วไป อีกทั้งให้ส่วนราชการ ภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการส่งเสริมเชิดชูเกียรติและเอื้ออาทรต่อทหารผ่านศึก เพื่อสดุดีวีรกรรมของทหารผ่านศึก วีรชนผู้กล้า ที่เสียสละเพื่อแผ่นดิน



วันทหารผ่านศึกในประเทศไทย

เพื่อระลึกถึงเกียรติภูมิของนักรบกล้าหาญ ตลอดจนเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีและวีรกรรมของเหล่าทหารหาญที่ทำให้เราอยู่กันอย่างสงบสุขบนผืนแผ่นดินไทย   สำหรับประเทศไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามต่างๆ มาแล้ว โดยมีอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติ ปรากฏเป็นอนุสรณ์อยู่ ซึ่งวีรกรรมของนักรบไทยในการรบได้ขจรขจายไปทั่ว ปรากฏต่อสายตาชาวโลก นับเป็นโอกาสอันดีที่ชาวไทยจะได้แสดงความระลึกถึง และช่วยเหลือทหารผ่านศึกและครอบครัว ด้วยการซื้อดอกป๊อปปี้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทหารผ่านศึก ผู้กล้าหาญ และเสียสละ เพราะดอกป๊อปปี้เป็นดอกไม้ที่ระลึกสำหรับทหารผ่านศึกไทยเช่นเดียวกับในต่างประเทศ และมีการจำหน่ายในวันที่ระลึกทหารผ่านศึก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 เป็นต้นมา เพราะเหล่าทหารกล้าที่ทำให้พวกเราชาวไทยมีอธิปไตยมีชาติ บ้านเมือง ให้ได้อยู่อาศัย ตราบชั่วลูกชั่วหลานจวบจนปัจจุบัน

ทุกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ คนไทยทุกคนจะได้มีโอกาสแสดงความระลึกถึงคุณความดี และความกล้าหาญของเหล่าบรรดาวีรชนไทย ที่ยอมสละเลือดเนื้อ และชีวิตเพื่อปกป้อง เอกราชอธิปไตยของแผ่นดินไทยไว้ให้พวกเรา ได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขมาจน

วันทหารผ่านศึกของต่างประเทศ

ทุกประเทศย่อมมีเหล่าทหารกล้า เพื่อเตรียมตัวป้องกันข้าศึก และออกรบในยามที่เกิดสงคราม ซึ่งที่ผ่านมาไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ที่มีเหล่าทหารกล้ายอมพลีชีพในหน้าที่ของตัวเองในสนามรบ เพราะทหารผ่านศึกเหล่านี้ต่างมีบุญคุณต่อชาติบ้านเมือง แต่ละประเทศจึงได้จัดงานเทิดเกียรติขึ้นมา ซึ่งของเมืองนอกก็มีเช่นกัน โดยอาจจะจัดเป็นขบวนพาเรด จากเหล่าทหารกล้า นักเรียนนายร้อย หรือเตรียมทหารที่จะมาเดินสวนสนาม โดยมีรถตำรวจ และรถดับเพลิงร่วมขบวน และมีประชาชน รวมถึงเหล่าอดีตทหารผ่านศึก มาร่วมชมขบวนแห่นี้ด้วย

วันที่ใช้จัดงานวันทหารผ่านศึก

ทุกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ร่วมระลึกและเชิดชูเกียติแก่เหล่าทหารกล้า ด้วยการซื้อดอกป๊อบปี้สีแดง 

ปฏิทินวันทหารผ่านศึก

วันทหารผ่านศึก พ.ศ.2550 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 / วันเสาร์ แรม ๑ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีจอ
วันทหารผ่านศึก พ.ศ.2551 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 / วันอาทิตย์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีกุน
วันทหารผ่านศึก พ.ศ.2552 ตรงกับ วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 / วันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีชวด
วันทหารผ่านศึก พ.ศ.2553 ตรงกับ วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 / วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีฉลู
วันทหารผ่านศึก พ.ศ.2554 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 / วันพฤหัสบดี แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีขาล
วันทหารผ่านศึก พ.ศ.2555 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 / วันศุกร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
วันทหารผ่านศึก พ.ศ.2556 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 / วันอาทิตย์ แรม ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะโรง
วันทหารผ่านศึก พ.ศ.2557 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 / วันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะเส็ง
วันทหารผ่านศึก พ.ศ.2558 ตรงกับ วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 / วันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีมะเมีย
วันทหารผ่านศึก พ.ศ.2559 ตรงกับ วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 / วันพุธ แรม ๑๑ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะแม
วันทหารผ่านศึก พ.ศ.2560 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 / วันศุกร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีวอก

ประวัติ วันทหารผ่านศึก

วันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้ เป็นวันคล้ายวัน สถาปนาองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและ เป็นวันทหารผ่านศึก ซึ่งคณะรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวันทหารผ่านศึกขึ้น เพื่อให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญ ของทหารผ่านศึก รวมถึงให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ แก่ทหารผ่านศึกเนื่องจากทหารผ่านศึกบางคนได้รับบาดเจ็บจนต้องทุพพลภาพ เสียแขน ขา หรืออวัยวะที่สำคัญบางอย่างทำให้ไม่สามารถจะประกอบอาชีพได้เหมือนกับคนปกติ และไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และสังคม เนื่องจากขาดความสามารถในการประกอบอาชีพ ซึ่งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2538 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดงานวันทหารผ่านศึก เพื่อสดุดีวีรกรรมทหารผ่านศึก ทหารกล้าผู้ที่เสียสละเพื่อรักษาประเทศชาติ

มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2488 โดยเรียกชื่อว่า "คณะกรรมการพิจารณา หาทางช่วยเหลือทหารกองทุน" ในสมัย พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหม เป็นผู้พิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ด้วยตระหนักถึงคุณความดีของ ทหารหาญเหล่านั้น รัฐบาลจึงหาหนทางที่จะให้ความช่วยเหลือมาตลอด เหล่าทหารกล้าที่เป็นกองกำลังในการปกป้องอธิปไตยของประเทศ พวกเขาพร้อมเผชิญหน้ากับ ศัตรูอย่างไม่หวั่นเกรงต่ออันตรายใดๆ ทหารทุกคนต่างสละได้ทุกสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่ร่างกายและลมหายใจ

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันทหารผ่านศึก สภาทหารผ่านศึก สภากลาโหม และรัฐบาลได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ เพื่อขยายการสงเคราะห์ให้ครอบคลุมไปถึงทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน และ พลเรือนที่ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ทั้งภายในและภายนอกประเทศตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด กับทั้งให้รวมมูลนิธิช่วยทหารและครอบครัวทหารที่ไปช่วยสหประชาชาติทำการรบ ด้วยจำนวนของทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกมีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก การดำเนินงานโดยคณะกรรมการจึงไม่รัดกุมและเหมาะสมกับเหตุการณ์ รัฐบาลจึงได้จัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เรียกชื่อย่อว่า "อผศ" เพื่อเป็นหน่วยงานถาวรที่จะทำหน้าที่ในการดูแลให้การสงเคราะห์แก่ ทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกโดยตรง

ความช่วยเหลือเหล่าทหารผ่านศึกและครอบครัว ได้มีการสงเคราะห์จากองค์การสำหรับประเภทต่างๆครอบครัวทหารผ่านศึกและนอกประจำการ ด้วยการสงเคราะห์ด้านสวัสดิการทั่วไป ด้านอาชีพ มีการจัดอบรมอาชีพสำหรับทหารที่ทุพลภาพ ด้าน เกษตรกรรม ด้านการรักษาพยาบาล ด้านส่งเสริมสิทธิและเกียรติ

การรบของเหล่าทหารกล้า ที่เป็นแนวหน้าคอยปกป้องประเทศชาติไม่ให้ศัตรูมารุกราน แต่หลังจากสงครามสิ้นสุดลง การสูญเสียมักจะมาเยือนเสมอ ทั้งบาดเจ็บ ล้มตาย รวมถึงพิการ แม้ในช่วงแรกเหล่าทหารกล้าถูกเชิดชูและมีเกียรติในฐานะวีรบุรุษ แต่นานวันเข้าก็เหล่าวีรบุรุษก็ถูกสังคมลืมเลือน

กิจกรรมในวันทหารผ่านศึก

กิจกรรมในวันทหารผ่านศึก ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลและประชาชนชาวไทยยังคงระลึกถึงและไม่ลืมเลือน วีรกรรมที่เหล่าวีรชนทหารผ่านศึกได้เคยทำเพื่อชาติ แผ่นดิน และเพื่อคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งในแต่ละปีเหล่าชาวไทย ร่วมน้อมรำลึกถึงเพื่อเชิดชูเกียรติเหล่าทหารกล้า...นักรบของแผ่นดิน

จัดนิทรรศการ

ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา มีเหล่าทหารกล้าผู้ซึ่งเสียสละแม้กระทั่งชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยและอธิปไตยของชาติ การจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่วีรกรรมของทหารผ่านศึก เพื่อเชิดชู ยกย่องเกียรติและความกล้าหาญ ที่เหล่าทหารสามารถปกป้องผืนแผ่นดินไทยนี้ไว้ได้

วางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

วันทหารผ่านศึกมีเหล่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หน่วยงานของรัฐบาล และเอกชน นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป ต่างพร้อมใจกัน เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา และบำเพ็ญกุศลให้กับนักรบผู้ยิ่งใหญ่ ที่เสียสละชีวิตเพื่อความสงบสุขของ ประเทศชาติ ซึ่งในวันทหารผ่านศึกของทุกปี องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจะจัดพิธีวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเป็นการแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเหล่านักรบผู้กล้า มีการประกอบพิธีวางพวงมาลา บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และพิธีเทิดไท้องค์ราชันย์ การเดินแถวของทหารผ่านศึก พิธีสวนสนามสดุดีทหารผ่านศึก ณ ลานอเนกประสงค์ กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ การเชิญหมู่ธงไตรรงค์ และหมู่ธง 6 กรณีสงคราม เพื่อเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึกดีเด่น  

จำหน่ายดอกป๊อปปี้ 
จำหน่ายดอกป๊อปปี้ เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือทหารผ่านศึก การนำเอาผลผลิตของทหารมาจำหน่ายกับประชาชน ถือเป็นการบริจาคช่วยเหลือทหารผ่านศึก ซึ่งการทำดอก ป๊อปปี้ ออกไปขายสู่ประชาชน อาจมีการตั้งกองทุนขึ้นทุกๆปี

จัดงานทั่วประเทศ

ตามสำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศได้ร่วมกันจัดงานในวันทหารผ่านศึก เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมและคุณงามความดีของเหล่าทหารกล้าที่พลีชีพเพื่อชาติ และเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึก รวมทั้งการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ดวงวิญญาณของบรรดาทหารผ่านศึกผู้ล่วงลับไปแล้ว 

สิ่งที่ควรทำให้กับทหารผ่านศึก

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี  เนื่องจากหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือหลัง สงครามมหาเอเซียบูรพา สิ้นสุดลง มีทหารไทยจำนวนมากที่ถูกปลดประจำการ จึงได้มีเสียงเรียกร้องขอให้ทางการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ทหารเหล่านั้น ประเทศไทย เป็นชาติหนึ่งที่มีประวัติการสู้รบอันยาวนาน …มิใช่เพื่อรุกราน แต่เพื่อการปกป้องเอกราชอธิปไตยและดินแดนไว้ให้ลูกหลานสืบไป นักรบผู้กล้าต้องสละชีวิต เลือดเนื้อ เพื่อรักษาผืนแผ่นดินไว้ ชาวไทยทุกคนต่างรำลึกในวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของวีรชนไทย ซึ่งการให้การสนับสนุนและความช่วยเหลือเหล่าทหารผ่านศึก ถือเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติยิ่ง

เข้าถึงปัญหาเหล่าทหาร

ทหารผ่านศึกแต่ละรายมีความต้องการที่ไม่ซ้ำกัน การให้ความช่วยเหลือในเรื่องไร้ที่อยู่ในหมู่ทหารผ่านศึกกฎหมายนี้จะช่วยสร้างบ้านชั่วคราวให้แก่ทหารผ่านศึกที่ไม่มีที่อยู่อาศัย และสร้างบ้านอุปถัมภ์ให้แก่ทหารผ่านศึกที่มีการบาดเจ็บ ทางร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต หรือโรคเครียดจากเหตุร้ายที่เกิดจากการ ปฏิบัติหน้าที่ของพวกเขา ซึ่งสิ่งที่จะช่วยเหล่าทหารกล้านี้ไม่แสวงผลกำไร และรัฐบาลท้องถิ่น สามารถก่อสร้างบ้านใหม่หรือบูรณะสถานที่ที่มีอยู่เพื่อให้ตอบ สนองต่อความต้องการของทหารผ่านศึก

เข้าใจถึงสภาพจิตใจ
เพราะทหารบางคนที่สูญเสียอวัยวะร่างกายบางส่วน อาจเกิดภาวะจิตใจที่เครียด และกดดัน การเข้าถึงภาวะจิตใจของเหล่าทหารกล้า ผู้ซึ่งสูญเสีย อาจมีการสังเคราะห์ทางด้านสวัสดิการ ทั้งเรื่องที่ยู่อาศัย การศึกษา และด้านอวัยวะเทียม เพื่อให้กลับมามีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น  แม้จะไม่ได้เสียชีวิตแต่ก็ได้สูญเสียอวัยวะบางส่วนไป แม้จะกลายเป็นทหารพิการทางร่างกาย แต่หัวใจ ก็ยังพร้อมสู้เสมอ

สนับสนุนให้มีรายได้
การฝึกอบรมและการฝึกอาชีพ เพื่อให้เกิดความช่วยเหลือเรื่องการฝึกอาชีพที่ถนัด เพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัว หรืออาจจะจัดหางานให้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การได้ฝึกอาชีพต่างๆ ก็อาจเป็นอีกหนทางหนึ่งของการหารายได้ ที่ยังถือว่าตัวเองได้สร้างประโยชน์ให้กับครอบครัวได้อยู่

ช่วยเหลือเรื่องที่ดินทำกิน
การสงเคราะห์ด้านที่ดินทำกิน ด้วยการหาทางช่วยเหลือ โดยอาจแบ่งที่ทำกินในด้านเกษตรกรรมให้ และให้ความช่วยเหลือทางด้านเครื่องมือรวมถึงวิชาการ ซึ่งจะทำให้เหล่าทหารผ่านศึกมีรายได้ขึ้นมาอีกหนึ่งหนทาง ซึ่งยังรวมถึงการสงเคราะห์ด้านกองทุนโดยการจัดหาเงินทุนให้สมาชิกขององค์การทหารผ่านศึกได้กู้ยืมไปประกอบอาชีพ เป็นการเริ่มต้นกิจการ เพื่อการลงทุน หลังจากที่ไม่มีอาชีพอื่นๆรองรับ

แนวทางการสนับสนุนกิจกรรมวันทหารผ่านศึก

ทหารผ่านศึกคือ เหล่าทหารกล้าผู้พิทักษ์รักษาประเทศชาติให้มีเอกราชอธิปไตย สีแดงของเลือดของทหารหาญที่ได้หลั่งชโลมแผ่นดินไว้ด้วยความกล้าหาญ เสียสละอันสูงสุด ดังนั้นวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันที่เราทั้งหลายจะได้เห็นดอกป๊อปปี้บานสะพรั่งไปทั่วราชอาณาจักร ซึ่งแนวทางการส่งเสริมภารกิจหลักขององค์การทหารผ่านศึก ควรจะต้องมีสืบไป โดยภารกิจหลักขององค์การทหารผ่านศึก ได้แก่ การให้การสงเคราะห์แก่ทหารที่ผ่านการปฏิบัติการรบ และครอบครัวของทหารที่ปฏิบัติการรบ

สงเคราะห์ทางด้านสวัสดิการ

การสงเคราะห์ทางด้านสวัสดิการ เป็นการให้การสงเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องทั่วๆ ไป ที่อยู่อาศัย การศึกษา ตลอดจนให้ความช่วยเหลือด้านอวัยวะเทียม เพราะมีเหล่าทหารผ่านศึกที่ออกรบ เมื่อสงครามสิ้นสุด แม้จะไม่ได้เสียชีวิตแต่ก็ได้สูญเสียอวัยวะบางส่วนไป ทำให้กลายเป็นทหารพิการ และไม่เป็นที่ต้องการของสังคม

การสงเคราะห์ทางด้านอาชีพ

การสงเคราะห์ทางด้านอาชีพ โดยการฝึกอบรมและการฝึกอาชีพ ให้ความช่วยเหลือในทางด้านการทำงาน จัดหางานให้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งแม้จะไร้แขนหรือขา แต่ใจก็ยังสู้ การได้ฝึกอาชีพต่างๆ ก็อาจเป็นอีกหนทางหนึ่งของการหารายได้ ดีกว่านั่งหายใจรอความตายแบบไร้ค่า

การสงเคราะห์ด้านนิคมเกษตรกรรม

การสงเคราะห์ด้านนิคมเกษตรกรรมคือการจัดสรรที่ทำกินในด้านเกษตรกรรมให้ และให้ความช่วยเหลือทางด้านเครื่องมือและวิชาการ ซึ่งจะทำให้เหล่าทหารผ่านศึกมีรายได้ขึ้นมา เพราะหลังจากไม่ได้รับใช้ชาติแล้วการออกหางานทั่วไปอาจจะลำบาก

การสงเคราะห์ด้านกองทุน

การสงเคราะห์ด้านกองทุนโดยการจัดหาเงินทุนให้สมาชิกขององค์การทหารผ่านศึกได้กู้ยืมไปประกอบอาชีพ เป็นการเริ่มต้นกิจการ เพื่อการลงทุน หลังจากที่ไม่มีอาชีพอื่นๆรองรับ

นอกจากนี้ยังมี การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลให้แก่สมาชิก โดยไม่คิดมูลค่า และให้มีการส่งเสริมสิทธิของทหารผ่านศึก โดยการขอสิทธิพิเศษในด้านต่างๆ ให้แก่ทหารผ่านศึก เช่น การขอลดค่าโดยสาร เป็นต้น


ขอบคุณแหล่งที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น