ประโยชน์หลายสถานของมะพร้าวน้ำหอม
ประมวลสรรพคุณมะพร้าวในตำราแพทย์ไทย
1. ลดไข้ วุ้นเนื้อมะพร้าวอ่อนกับน้ำมะพร้าวอ่อนเป็นยาเย็น ช่วยให้อาการไข้ตัวร้อนทุเลาลง
2. แก้ร้อนใน ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนในตอนเช้าให้หมด และในตอนบ่ายดื่มอีกลูกหนึ่งจนหมด กินเนื้อด้วยก็ได้
3. แก้ท้องเสีย ใช้รากมะพร้าวล้างสะอาด 3 กำมือ ทุบพอแตกต้มน้ำ 5 แก้ว เคี่ยวเอา 2 แก้ว ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว เช้า กลางวัน เย็น
4. แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ น้ำกะทิเคี่ยวให้ร้อน เอาผักเสี้ยนผีล้างสะอาดสับเคี่ยวด้วยกัน ใส่เมนทอลเล็กน้อยเพื่อกลิ่นหอม และเพิ่มพลังแทรกซึมของตัวยานวด แก้ปวดเมื่อย ช้ำบวม อักเสบ
5. รักษาแผลเรื้อรัง เอากะลามะพร้าวถูตะไบ ได้ผงละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าว แทรกพิมเสนเล็กน้อย ทาแผลเรื้อรัง เช้า กลางวัน เย็น ทาบ่อยๆ
6. แก้จุกเสียด แน่นท้อง เอากะลามะพร้าวเผาไฟให้เป็นถ่าน มาบดเป็นผงละเอียด ละลายน้ำอุ่น ดื่มแก้จุดเสียดแน่นท้องได้ ดื่มสัก 1 - 2 ช้อนโต๊ะ
7. รักษาเกลื้อน เอากะลามะพร้าวแก่จัดที่ขูดแล้ว ที่มีรู มาใส่ถ่านไฟแดงๆ จะทำให้เกิดน้ำมันมะพร้าวไหลออกมา เอาน้ำมันนั้นทาโรคเกลื้อนได้ดีเยี่ยม ทาแล้วทิ้งไว้ 7 วันล้างออก ยางจะติดแน่นอยู่ เกลื้อนจะค่อยๆ หาย
8. แก้ปวดฟัน เอากะลามะพร้าวแก่จัด มีรู ขูดเอาเนื้อออกใหม่ๆ ใส่ถ่านไฟแดงลงไป รองน้ำมันมะพร้าวที่ไหลออกมาเก็บใส่ขวด ปิดแน่นไว้ ใช้สำลีพันปลายไม้ชุบน้ำมันมะพร้าว อุดรูฟันที่ปวด อย่าให้สัมผัสเหงือกหรือเนื้อเยื่ออื่นๆ จะเกิดความชาได้
9. รักษาคางทูม เอาน้ำมันมะพร้าวทาบริเวณคางทูมบ่อยๆ วันละ 2 - 3 ครั้ง ทาบางๆ 2 - 3 วัน อาการคางทูมจะดีขึ้น
10. รักษาดีซ่าน ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน ครั้งละ 1 ผล เช้า กลางวัน เย็น ทุกวัน เพียง 2 วันก็หาย
11. รักษาแผลเป็น ใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากกะลามะพร้าวเผาไฟถ่าน ทาที่แผล แผลจะหายไปในไม่กี่วัน เมื่อแผลหายจะไม่เป็นแผลเป็น
12. แก้ตาอักเสบ เอาน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ถ้วย ผสมน้ำตาลทรายแดงให้หวานจัดๆ เอาไว้ดื่ม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น อาการอักเสบของดวงตาจะค่อยๆ หายไปเองในที่สุด
13. แก้คลื่นไส้อาเจียน เอามะนาว 1 ซีก บีบผสมน้ำมะพร้าวอ่อน ดื่มแก้อาเจียนได้ดี
14. แก้โรคบิด ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนครั้งละ 1 ผล เช้า กลางวัน เย็น แก้โรคบิดได้ดีมาก
15. บำรุงผิวพรรณ ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนสัปดาห์ละ 4 - 5 ผล ช่วยบำรุงผิวพรรณ แก้เม็ดผดผื่นคัน บำรุงร่างกายให้สดชื่น
16. แก้ปัสสาวะขัด ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน ครั้งละ 1 ผล เช้า กลางวัน เย็น
17. แก้พิษเบื่อเมาได้ดี ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ลูก ไม่กินเนื้อ อีก 2 - 3 ชั่วโมง ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนเย็นๆ เข้าไปอีก แก้วิงเวียน เมา ปวดท้อง ปวดไส้ ล้างพิษที่เกิดขึ้นได้ดี
18. แก้เมาเหล้า เอาน้ำมะพร้าวอ่อนไม่ต้องแช่เย็น ดื่มแก้เมา แก้อาเจียนจากเหล้าได้ดี
19. แก้ไอ เอาน้ำมะพร้าวห้าวมาดื่มจะมีสรรพคุณรักษาอาการไอได้ดีมาก ดื่มเฉพาะน้ำเท่านั้น
20. แก้ชันนะตุพุพอง น้ำมันมะพร้าวผสมเหง้าขมิ้นชัน สารส้มเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นชันนะตุหรือใช้เพียงน้ำมันมะพร้าวเพียงอย่างเดียวก็ได้ผลดีเช่นกัน
21. แก้รังแค ใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการเคี่ยวน้ำกะทิแก่จัด เคี่ยวได้น้ำมันมะพร้าวใหม่ๆ ให้เย็นลงทาศีรษะ 30 นาที แล้วสระออกด้วยแชมพู ใช้เพียงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว
22. รักษาน้ำกัดเท้า เอาน้ำมันมะพร้าวผสมสารส้ม น้ำปูนใส และเกลืออย่างละเล็กน้อย กวนคนผสมกันให้ดี เอามาทาแผลทันที บ่อยๆ จะหายเร็วขึ้น
23. แก้ผื่นคัน เอาเนื้อมะพร้าวขูดเคี่ยวน้ำมันออกมา แล้วเอากากที่เหลือเคี่ยวไปด้วยกันอย่าทิ้ง จนไหม้เกรียมดำ แล้วเอาน้ำมะพร้าวนี้ ซึ่งมีเนื้อมะพร้าวขูดที่ไหม้ไปใช้ประโยชน์ได้
24. รักษาฝ่ามือแห้งแตกและเล็บขบ ใช้น้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวใหม่มาใช้ได้ดี หรือใช้น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการเผากะลามีรูจากถ่านไฟก็ได้ ทาเช้า กลางวัน เย็น หรือหยอดเล็บขบ จะหายเร็วและไม่ปวด
25. แก้เบาหวาน เอามะพร้าวแก่ขูดเอาเนื้อคั่วให้เหลือง หอม กรอบ โรยเกลือเล็กน้อย ใส่ขวดปิดฝาแน่น รับประทานครั้งละ 1 ช้อนแกง เช้า กลางวัน เย็น สัก 10 - 15 วัน ระดับน้ำตาลจะลดลงเรื่อยๆ
26. แก้ปากเปื่อย ปากเป็นแผล อมน้ำกะทิสด (จากมะพร้าวแก่) ครั้งละ 5 - 10 นาที 2 - 3 วัน
27. รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้มะพร้าวกะทิปิดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้ได้ดีทีเดียว
28. แก้ไข้ทับระดู เอาจั่นมะพร้าวหรือทะลายดอกมะพร้าว ที่ยังคงมีกาบหุ้มอยู่ ต้มน้ำดื่ม เช้า กลางวัน เย็น อาการไข้ทับระดูจะค่อยๆ หายไป ชาวบ้านบางคนใช้รากก็ได้ผล
29. รักษาลำไส้อักเสบ เอาเปลือกมะพร้าวมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มน้ำดื่มต่างน้ำ ลำไส้อักเสบจะค่อยๆ ทุเลาลง จนกระทั่งหายไปในที่สุด (ควรใช้เปลือกมะพร้าวห้าว มะพร้าวแก่หรือมะพร้าวแห้ง)
30. แก้อีสุกอีใส ใช้ใบมะพร้าวต้มน้ำดื่ม แก้อีสุกอีใสได้
31. รักษาอาการเคืองตา ใช้เนื้อมะพร้าวอ่อนสดๆ แปะที่ดวงตา อาการเคืองตาจะทุเลาลงและหายไปได้
**ข้อมูลจากเรื่องน้ำมันมะพร้าว บทบาทต่อสุขภาพและความงาม โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานเครือข่ายพืชปลูกพื้นเมืองไทย จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ความรู้ โดยองค์การเภสัชกรรม (GPO)
Cr.การทำอาหารและยาสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น