แหล่งรวมสินค้า อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือวัดขนาดเล็ก เครื่องมือทดสอบขนาดใหญ่ สินค้าที่ใช้ในโรงงาน พร้อมทั้ง อลูมิเนียมโปรไฟล์ อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่นโคมไฟแว่นขยาย และอื่นๆอีกมากมาย
วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559
“โรคไมเกรน” ช่วงหน้าร้อน
รับมือ “โรคไมเกรน” ช่วงหน้าร้อน
อาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือที่รู้จักกันในชื่อโรค “ไมเกรน” นั้น เป็นโรคที่คนวัยทำงานป่วยเป็นมากที่สุด ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัย
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคปวดศีรษะไมเกรนมักพบบ่อยในเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความสูญเสียคุณภาพชีวิตและสมรรถนะภาพในการทำงานของคนวัยนี้ลักษณะอาการปวดศีรษะไมเกรนจะปวดแบบตุ๊บๆ บริเวณที่มีหลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น บริเวณขมับและท้ายทอย ระดับการปวดอาจรุนแรงปานกลางถึงมากจนไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามปกติได้
ทั้งนี้ ผู้ป่วยประมาณ 60% จะปวดศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง อีกประมาณ 35% จะปวดศีรษะสลับข้างไปมา ส่วนที่เหลือจะปวดศีรษะทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย นอกจากนี้ตาจะสู้แสงไม่ได้และไม่ชอบเสียงดัง อาการปวดจะแย่ลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ และเมื่อนอนพักอาการก็จะดีขึ้น หากไม่ได้รักษาอาการปวดจะอยู่นาน 4-72 ชั่วโมง ความถี่ของอาการอาจเป็นได้หลายครั้งต่อเดือนหรือปีละ 1-2 ครั้ง
โรคปวดศีรษะไมเกรนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แบบมีอาการเตือนจะเกิดขึ้นช่วงก่อนหรือหลังปวดไม่เกิน 1 ชั่วโมง นาน 15-30 นาที โดยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น เห็นแสงวูบวาบ ซิกแซก หรือเงามืดขยายวงที่มุมหนึ่งของลานสายตา เจ็บหรือเหน็บชาร่างกายครึ่งซีก พูดผิดปกติและอ่อนแรงร่างกายครึ่งซีก ส่วนในเด็กอาการปวดศีรษะอาจไม่ชัดเจนแต่จะมีอาการนำ เช่น อาเจียนหรือปวดท้องติดต่อกันโดยไม่มีสาเหตุอื่น และแบบไม่มีอาการเตือนจะพบมากประมาณ 85%
สาเหตุของโรคปวดศีรษะไมเกรนคือ มีการกระตุ้นต่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ซึ่งทำหน้าที่รับความรู้สึกที่บริเวณเยื่อหุ้มสมองและหลอดเลือดใหญ่ภายในกะโหลกหลั่งสารเคมีต่างๆ ไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ส่งผลให้หลอดเลือดใหญ่ที่ติดกับเยื่อหุ้มสมองขยายตัวและทำให้เกิดอาการปวดขึ้นมา ไมเกรนเป็นโรคเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาการของโรคอาจรุนแรงขึ้นจนทำให้ต้องใช้ยาแก้ปวดมากเกินขนาด
โดยธรรมชาติของโรคอาการจะดีขึ้นหลังวัยหมดระดู การรักษาในรายที่มีอาการไม่บ่อย (น้อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือน) อาจรับประทานยาแก้ปวดเป็นครั้งคราว ส่วนผู้ที่มีอาการปวดนานเกิน 72 ชั่วโมง ปวดศีรษะไมเกรนครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 55 ปี หรือขณะตั้งครรภ์ มีอาการปวดมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน และมีอาการปวดร่วมกับมีไข้ ผื่นผิวหนัง คอแข็ง ชัก กระตุก ซึมลง ตามัว เห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นอาการปวดศีรษะไมเกรน ได้แก่ การอดนอน การทำงานหนักเกินไป การอดอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เล่นกีฬาที่หักโหมเกินไป อากาศร้อน/เย็นจัดมองแสงจ้า เสียงดัง กลิ่นน้ำหอมบางชนิด กลิ่นสารเคมีบางอย่าง อาหารประเภทฟาสฟู้ด ชีส เนยแข็ง ไส้กรอก ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ สารแทนความหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ควรฝึกผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน การเรียน หากมีอาการปวดใช้น้ำแข็งประคบที่ศีรษะเพื่อบรรเทาอาการ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ หรือนวดด้วยกลิ่นหอมจะช่วยให้ผ่อนคลายจากการปวดไมเกรนได้
ที่มา : เว็บไซต์แนวหน้าออนไลน์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
“Lost Stars” Please don’t see just a boy caught up in dreams and fantasies ได้โปรดอย่ามองเห็นผมเป็นเพียงแค่เด็กชายที่หลงไหลอยู่ในโลกแ...
-
Dial Gauge (นาฬิกาวัด) การใช้นาฬิกาวัดชนิดมาตรฐานและชนิดคาน ภาพที่ 8.10 ขาตั้งนาฬิกาวัด นาฬิกาวัดทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถจะใช้ได้เองโด...
-
ใบวัดมุม (Bevel Protractor) 7.1.1 ลักษณะส่วนประกอบของใบวัดมุม ลักษณะงานที่ใช้วัดด้วยใบวัดมุม การผลิตชิ้นงานให้ได้ขนาดตามแบบกำหนดบางครั้งจะ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น