วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

มาตรฐานการสอบเทียบของสถาบันมาตรวิทยา

การสอบเทียบ  คือ กระบวนการในการตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือวัด ด้วยการเปรียบเทียบกับค่าที่อ่านได้จากเครื่องมือวัดกับค่าจริงของสิ่งที่ถูกวัด

องค์ประกอบของการสอบเทียบ
- ตัวมาตรฐานการวัด
- วิธีการวัด
- ผู้ปฏิบัติการ
- ห้องปฏิบัติการ
- สภาวะแวดล้อม


ห้องปฏิบัติการสอบเทียบมีกี่แบบ
 ห้องปฏิบัติการสอบเทียบเฉพาะภายในหน่วยงาน  (Captive Laboratory)
    - เพื่อสนองความต้องการของระบบคุณภาพ / ลูกค้า
    - ประหยัดเวลา เพิ่มเวลาใช้งานของเครื่องมือ
    - ประหยัดค่าใช้จ่าย
    - มีความมั่นใจในคุณภาพ
    - มีระบบการปฏิบัติงานที่ไม่ยุ่งยาก
-  ห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ให้บริการแก่สาธารณะ (Public Laboratory)
    - ให้บริการสอบเทียบแก่สาธารณะ
    - มีทั้งที่ได้รับการ Accredited  และไม่ได้รับการ Accredited
    - มีบริการสอบเทียบ On-site
    - ระดับคุณภาพแตกต่างกัน

ขั้นตอนการเลือกห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
1. ศึกษาข้อกำหนดในการสอบเทียบเครื่องมือวัดตาม ISO 9001 ข้อ 7.6 และ ISO/IEC 17025
2. จัดทำขอบเขตของความต้องการการสอบเทียบ
    - หน่วยวัด
        - พิสัย
        - ความไม่แน่นอน
        - ข้อยกเว้นเฉพาะสำหรับเครื่องมือบางตัว
        - ช่วงระยะเวลาระหว่างการสอบเทียบ
        - วันที่สอบเทียบ และวันที่แล้วเสร็จ
3. จัดทำเอกสารการจัดจ้าง
เงื่อนไขทางการค้า
        - หลักฐานการจดทะเบียนบริษัท
        - ใบรับรองระบบคุณภาพ ISO 17025
        - หลักฐานการประกันความเสียหาย
        - สำเนาคู่มือคุณภาพ
        - ตัวอย่างสำเนาใบรับรองการสอบเทียบ
        - ค่าบริการสอบเทียบ และเงื่อนไขการจ่ายเงิน
        - การให้บริการ On-site
    - เงื่อนไขการยกเลิกสัญญา
เงื่อนไขทางเทคนิค
        - List ของเครื่องมือวัดที่ต้องการสอบเทียบ
        - Specifications
        - วันที่ต้องการสอบเทียบ และ วันที่แล้วเสร็จ

4. การพิจารณาข้อเสนอ
 ใช้ checklist
    1. ส่วนที่เป็นไปตามเงื่อนไขการจัดจ้าง
    2. ส่วนที่เป็นไปตามข้อกำหนดของ ISO 17025
    - จัดทำขึ้นเอง                           
        - ได้จาก Accreditation body
5.On - site Audit 
    - Audit ตาม check list
    - ดูสภาพห้องปฏิบัติการจริง
        - ทำความรู้จักกับผู้บริหารของห้องปฏิบัติการ
    - ประเมินความน่าเชื่อถือ
    กิจกรรมหลังการคัดเลือก
    - Monitor ผลงานของห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง
    - On-site Audit ซ้ำเมื่อจำเป็น
    - ขึ้นทะเบียนเป็น Approved vendor list

วิธีดำเนินการสอบเทียบ
    วิธีดำเนินการสอบเทียบ
    - ต้องทำเป็นเอกสาร
    - ต้อง Validate
    - ต้องทันสมัย
    - มีให้ผู้ใช้งานตลอดเวลา
    - ต้องมีการควบคุม
    - ได้จากมาตรฐาน เช่น ISO, DIN, JIS, ASTM
    - ได้จากวิธีการที่จัดทำไว้แล้ว ตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ
    - ได้จากผู้ผลิต
    - ได้จากการฝึกอบรม
    สิ่งบ่งชี้สถานะการสอบเทียบ
    - สิ่งบ่งชี้เฉพาะของเครื่องมือวัด
    - วันที่สอบเทียบ
    - วันครบอายุการสอบเทียบ
    - สิ่งบ่งชี้ผู้ทำการสอบเทียบ
    - สิ่งบ่งชี้เฉพาะอื่นๆ (ถ้ามี)
    เอกสารในระบบสอบเทียบ
    - วิธีดำเนินการ
    - วิธีการสอบเทียบ
    วิธีดำเนินการ มีรายละเอียดของ 
    - วัตถุประสงค์
    - ขอบข่าย
    - คำจำกัดความ
    - เอกสารอ้างอิง
    - ความรับผิดชอบ
    - วิธีดำเนินการ
    - บันทึก
    วิธีการสอบเทียบ ขั้นตอนการเขียนวิธีการสอบเทียบ
    - ตรวจสอบ Specification ของเครื่องมือที่จะเขียน
    - เลือกวิธีการสอบเทียบ (Calibration Method)
    - เลือกเครื่องมือมาตรฐานที่เหมาะสม (Accuracy Ratio)
    - กำหนดเกณฑ์การยอมรับของผลการสอบเทียบ (Tolerance Limits)
    - เขียนวิธีดำเนินการ (Procedure)
    - ทวนสอบวิธีดำเนินการ (Verify Procedure)

การบริหารห้องปฏิบัติการสอบเทียบ

ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ปัจจัยหลักของห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ได้แก่
ผู้ปฏิบัติงานสอบเทียบ
    - มีพื้นฐานการศึกษา ความรู้ และประสบการณ์
    - ได้รับการฝึกอบรมในกิจกรรมที่ปฏิบัติ
    - มีความสามารถในการ
      - ใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง
      - ปฏิบัติการสอบเทียบ
      - ประเมินและรายงานผล
    - มีบันทึกพื้นฐานการศึกษา การฝึกอบรม ไว้เป็นหลักฐาน
สถานที่และสภาวะแวดล้อม
    - สถานที่สำหรับอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน
      - พื้นที่ทำการสอบเทียบ
      - แสงสว่าง แหล่งจ่ายพลังงาน
      - ระบบควบคุมสภาวะแวดล้อม
    - สภาวะแวดล้อม
      - ต้องไม่รบกวนผลการสอบเทียบ จนเกินกว่าจะยอมรับได้
      - ได้รับการควบคุม เฝ้าระวัง และบันทึกอย่างมีประสิทธิภาพ
    ตัวอย่างสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อการวัด
      - อุณหภูมิ (Temperatute)
      - การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ (Rate of Change of Temperature)
      - ความชื้น (Humidity)
      - ความดัน (Pressure)
      - การสั่นสะเทือน (Vibration)
      - การรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Interference)
วิธีการสอบเทียบ
    - จัดทำไว้เป็นเอกสาร
    - มีสาระเพื่อจะนำไปปฏิบัติได้ผลการสอบเทียบอย่างคงเส้นคงวา
    - แหล่งที่มาของวิธี
    - มีการประเมินความไม่แน่นอน (Uncertainty)
    - มีการ Validate ก่อนนำไปใช้งาน
    - รายละเอียดวิธีการสอบเทียบ
    - ชื่อ ชนิด ของเครื่องมือที่ทำการสอบเทียบ ผู้ผลิต
    - พิสัย ข้อจำกัดการใช้งาน
    - เกณฑ์ยอมรับ
    - ช่วงระยะเวลาในการสอบเทียบ
    - รายละเอียดเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้
      - ข้อควรปฏิบัติก่อนลงมือทำ
      - ขั้นตอนการสอบเทียบ
      - การบันทึก และรายงานผล
      - การประเมินความไม่แน่นอน
มาตรฐานการวัด
เป็นมาตรฐานที่ใช้ในกระบวนการสอบเทียบ
    - มีอัตราส่วนความถูกต้อง 3 ถึง 10 เท่า
    - มีพิสัย (Range) ครอบคลุม
    - มีความสามารถสอบกลับได้ (Traceability) ถึงมาตรฐานแห่งชาติ (National Standards)
    - มาตรฐานอ้างอิง (Reference Standards) คือ มาตรฐานที่มีคุณภาพทางมาตรวิทยาสูงสุดที่มีอยู่ ณ ที่ใช้งาน ซึ่งความถูกต้องของหน่วยวัดที่เกี่ยวข้องทั้งหลายภายในหน่วยงานนั้น สามารถอ้างอิงได้จากมาตรฐานนี้
    - มาตรฐานใช้งาน (Working Standards) คือ มาตรฐานการวัดที่ได้รับการถ่ายทอดความถูกต้องจากมาตรฐานอ้างอิง ใช้สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดอื่นๆ ในหน่วยงานนั้น
    - มาตรฐานอ้างอิงของการวัดที่มีความถูกต้องสูงสุด มีไว้ในห้องปฏิบัติการ
    - มีไว้สำหรับการสอบเทียบเท่านั้น
    - ต้องกำหนดแผนการสอบเทียบ
    - ส่งไปสอบเทียบยังหน่วยงานที่สามารถให้ "ความสามารถสอบกลับได้" ของการวัดไปยังมาตรฐานแห่งชาติ หรือมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ
    - ใบรับรองการสอบเทียบ ต้องระบุผลการวัด ความไม่แน่นอนของการวัด และความสามารถสอบกลับได้
บันทึกการสอบเทียบ และการรายงานผล
    - บันทึก
          - ค่าที่อ่านได้ การคำนวณ การส่งต่อข้อมูล การรายงานผลในใบรับรองผลการสอบเทียบ
          - มีรายละเอียดเพียงพอให้สามารถตรวจสอบได้
          - เก็บไว้เป็นหลักฐาน
          - ใช้เป็นข้อมูลในการยืดหรือขยายช่วงระยะเวลาในการสอบเทียบ
รายละเอียดในบันทึกการสอบเทียบ
        - ชื่อ หมายเลขเครื่องมือที่ทำการสอบเทียบ ผู้ผลิต
        - วันที่ทำการสอบเทียบ
        - ช่วงระยะเวลาในการสอบเทียบ
        - สภาวะแวดล้อม
        - ผู้ทำการสอบเทียบ ผู้ตรวจสอบ
        - อ้างถึงวิธีการสอบเทียบ
        - รายละเอียดของมาตรฐานที่ใช้
        - ผลการสอบเทียบ
        - ความไม่แน่นอน
การรายงานผล
    - กรณีสอบเทียบเครื่องมือภายในบริษัท ไม่ต้องออกใบรายงานผล
    - กรณีสอบเทียบเครื่องมือให้ลูกค้าภายนอก ต้องออกใบรายงานผล และเก็บรักษาบันทึกการสอบเทียบ พร้อมสำเนาใบรายงานผลไว้ที่ห้องปฏิบัติการ
         รายละเอียดในใบรายงานผล
        - หัวเรื่อง "รายงานผลการสอบเทียบ"
        - ชื่อ ที่อยู่ ห้องปฏิบัติการ
        - รายละเอียดเครื่องมือที่ทำการสอบเทียบ ผู้ผลิต รุ่น หมายเลขเครื่อง
        - ชื่อ ที่อยู่ ของลูกค้า
        - หมายเลขใบรายงานผล หน้าในจำนวนทั้งหมด
        - ระบุวิธีการสอบเทียบที่ใช้
        - ผลการสอบเทียบ พร้อมความไม่แน่นอน
        - วันที่ทำการสอบเทียบ
        - สภาวะแวดล้อม
        - รายละเอียดของมาตรฐานที่ใช้พร้อมความสอบกลับได้
        - ลายมือชื่อผู้รับผิดชอบรายงาน
ระบบคุณภาพ
       ระบบบริหารงานห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
    - ISO 9001  Quality System
    - ISO/IEC 17025  General requirements for the competence of calibration and testing laborator

ขอบคุณที่มา: สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

สนใจผลิตภัณฑ์ของเรา ที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น