วันออกพรรษา 2557 ประวัติวันออกพรรษา
วันออกพรรษา 2557 ประวัติวันออกพรรษา
วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2557
วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์
วันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากวันออกพรรษาแล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้
วันออกพรรษา เรียกว่าอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” หรือ “วันมหาปวารณา” คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ทั้งหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน
วันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากวันออกพรรษาแล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้
วันออกพรรษา เรียกว่าอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” หรือ “วันมหาปวารณา” คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ทั้งหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน
วันออกพรรษาหรือวันพระพุทธเจ้าเปิดโลก
ในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา (3เดือน) ครั้นถึงวันปวารณาออกพรรษา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธองค์จึงเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ทางบันไดทิพย์ ทั้ง 3 ได้แก่ บันไดเงิน และ บันไดทอง และ บันไดแก้ว ซึ่งสักกเทวราช (พระอินทร์) ให้พระวิษณุกรรมเนรมิตทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่โลกมนุษย์ ที่ ประตูเมืองสังกัสนคร ที่นั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนต่างมารอรับตักบาตรภัตตาหารกันอย่างเนืองแน่นชาวพุทธจึงยึดถือปรากฎการณ์ในวัน แรม1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ เรียก “วันเทโวโรหณะ” และ วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก เพราะวันนั้นโลกทั้ง 3 คือ สวรรค์ มนุษย์ และ บาดาล (นรก) ต่างสามารถแลเห็นกันได้ตลอดทั้ง 3 โลก
ความสำคัญของวันออกพรรษา
วันออกพรรษา เป็นวันสำคัญของพุทธศาสนา ด้วยเหตุผลดังนี้
1. หลังจากวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้
2. เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน
3. ในวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือและความสามัคคีกัน
4. พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าว ตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป
2. เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน
3. ในวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือและความสามัคคีกัน
4. พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าว ตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป
ประวัติความเป็นมาของวันออกพรรษา
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตุวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีพระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิดการขัดแย้งกันจนอยู่ไม่สุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกาว่าจะไม่พูดจากัน (มูควัตร) เมื่อถึงวันออกพรรษาพระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วปวารณากันในสามลักษณะ คือด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี”
การถือปฏิบัติวันออกพรรษาในประเทศไทย
วันออกพรรษาเป็นวันปวารณาของพระสงฆ์โดยตรง ที่จะต้องประชุมกันทำปวารณากรรมแทนอุโบสถกรรม สำหรับพุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ ก็ถือว่าเป็นวันพระสำคัญ มักนิยมไปทำทานรักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษ
นอกจากนี้ ยังมีประเพณีเนื่องด้วยวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “ประเพณีตักบาตรเทโว”
คำว่า “ตักบาตรเทโว” มาจากคำเต็มว่า “ตักบาตรเทโวโรหณะ” คือการตักบาตรเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทบันทึกไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์เป็นคู่ๆ) ที่ต้นมะม่วงใกล้เมืองสาวัตถีแล้วก็เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่ 7 บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา 3 เดือน ครั้นออกพรรษาแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลกทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ
หลักธรรมที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
ในเทศกาลออกพรรษา มีหลักธรรมสำคัญที่ควรนำไปปฏิบัติ คือ ปวารณา การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ ในการปวารณานี้อาจแบ่งบุคคลออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ผู้ว่ากล่าวตักเตือน จะต้องเป็นผู้มีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือน เรียกว่ามีเมตตาทางกาย ทางวาจา และทางใจ พร้อมมูล
2. ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือน ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน ดีใจดังมีผู้มาบอกขุมทรัพย์ให้
การปวารณา จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์ การปวารณา แม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมชาวบ้าน เช่น การปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัว ในสถานศึกษา ในสถานที่ทำงาน พนักงานในห้างร้าน บริษัทและหน่วยงานราชการ เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของกิจกรรมวันออกพรรษา
1. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษารวมทั้งหลักธรรม เรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติ
2. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีทักษะในการคิดและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในวันออกพรรษา และสามารถเลือกสรรหลักธรรม คือปวารณา ไปใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนและสังคม
3. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคือ ปวารณา
4. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้งและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา
5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนได้อย่างถูกต้อง
วันมหาปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือน
เรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์
ขอบคุณภาพจาก www.facebook.com/voot.muyong
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่เมืองสังกัสสะนครนั้น พระองค์ทรงเนรมิตให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้ ซึ่งต่อมาเรียกกันว่าเป็น “วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก”
วันออกพรรษา ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิต ปรารถนาดีต่อผู้ถูกตัวเตือน ทั้งกาย วาจา ใจ ส่วนผู้ถูกตักเตือนก็ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้กล่าวตักเตือน โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันโดยมีความหมายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณากันในสามลักษณะคือ ด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี และด้วยการสงสัยก็ดี”
ประเพณีตักบาตรเป็นประเพณีที่ปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาล
1. ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ โดยในหลายที่ยังทำเป็นข้าวต้มลูกโยน มาไว้สำหรับใส่บาตรการตักบาตรเทโวเริ่มมาตั้งแต่ตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชนจึงได้พร้อมใจกันนำภัตตาหารมาถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จนั้นมีจำนวนมาก บางพวกที่อยู่ห่างจึงไม่สามารถใส่อาหารลงในบาตรได้ จึงต้องทำข้าวให้เป็นก้อน แล้วโยนใส่บาตร จนกระทั่งเป็นประเพณีนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
ตักบาตรเทโว หมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษาตามความเชื่อของพระพุทธศาสนิกชนว่าเป็นวันที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา
“เทโว” ย่อมาจากคำว่า “เทโวโรหนะ” ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก หมายถึง เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิณาณ แล้วทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่างๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นบิตุภูมิของพระองค์ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติทั้งหลายถ้วนหน้า แล้วทรงปรารถนาจะสนองคุณพระมารดา ซึ่งหลังจากประสูติพระองค์ได้ 7 วัน ก็สิ้นพระชนม์ และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ฉะนั้นในพรรษาที่ 7 หลังจากตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะ ประชาชน พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น บางวัดก็ทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ทั้งนี้ แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน
พิธีทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนไปช้าๆ นำหน้าพระสงฆ์ พระภิกษุสามเณรถือบาตรเดินตามไปโดยลำดับ พุทธศาสนิกชนต่างก็นำอาหารมาเรียงรายกันอยู่เป็นแถว ตามแนวทางที่รถบุษบกนั้นจะผ่านเพื่อตักบาตร ของที่นิยมใช้ตักบาตรเทโว ซึ่งนอกจากเป็นข้าวปลาอาหารทั่วๆ ไปแล้วยังมีข้าวต้มมัดใต้และข้าวต้มลูกโยนอีกด้วย
การที่พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่เพียงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เนื่องจากมีพระประสงค์จะให้พระพุทธมารดาได้บรรลุโลกุตรธรรมอันเป็นธรรมชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนาได้
2. ประเพณีทอดกฐิน ถือเป็นกาลทาน ที่เป็นประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง โดยมีระยะเวลา 1 เดือน หลังจากวันออกพรรษาคือวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ไปจนถึงกลางเดือน 12
ประเพณีทอดกฐินมีระยะเวลา 1 เดือน หลังจากวันออกพรรษา
นอกจากประเพณีที่ถือปฏิบัติในวันออกพรรษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมและมีผู้สนใจไปร่วมกิจกรรมกันอย่างคับคั่ง คือ การชมบั้งไฟพญานาค ซึ่งเกิดขึ้นเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้นคือวันออกพรรษา ซึ่งจะมีพุทธศาสนิกชนไปรอชมบั้งไฟกันทั้งสองฝั่งของแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะอำเภอโพนพิสัยที่มีปริมาณบั้งไฟขึ้นเยอะกว่าที่อื่นๆ
การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันออกพรรษา
กิจกรรมเกี่ยวกับครอบครัวในวันออกพรรษา
1. ในวันออกพรรษา แต่ละครอบครัวก็ช่วย ทำความสะอาดบ้าน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งที่บูชาประจำบ้าน
2. ศึกษาเอกสารและสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม การปวารณาและแนวทางปฏิบัติในครอบครัว
3.สมาชิกในครอบครัว ปรึกษา หารือ หาแนวทางในการป้องกันการแก้ปัญหา โดยใช้หลักธรรม คือ ปวารณา
4. วันออกพรรษา นำครอบครัวไปบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน
5. ปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไหว้พระสวดมนต์ ฟังธรรมเจริญภาวนา ในกรณีที่เป็นวันหยุดเนื่องในวันออกพรรษา
กิจกรรมเกี่ยวกับสถานศึกษาในวันออกพรรษา
1. ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา
2. ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาถึงความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม เรื่องปวารณาและแนวทางปฏิบัติในสถานศึกษา
3. ครูให้นักเรียนจัดทำป้ายนิเทศ หรือจัดนิทรรศการ ประกวดเรียงความ ทำสมุดภาพ ตอบปัญหาธรรม บรรยายธรรม อภิปรายธรรม
4. ครูให้นักเรียนจัดทำรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดีกับพฤติกรรมที่ไม่ดี และวางแผนพัฒนาพฤติกรรมไม่ดีให้น้อยลง
5. ประกาศเกียรติคุณนักเรียนที่ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี
6. ครูพานักเรียนไปร่วมกิจกรรมกับชุมชนที่วัด บำเพ็ญกุศลทำบุญตักบาตร บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม สนทนาธรรม เจริญภาวนา ในกรณีที่เป็นวันหยุด และกิจกรรมอื่นที่เหมาะสม
ปักธงธรรมจักรหน้าบ้านหรือสถานที่ราชการในวันออกพรรษา
กิจกรรมเกี่ยวกับสถานที่ทำงานในวันออกพรรษา
1. ทำความสะอาดบริเวณที่ทำงาน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา
2. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรมเรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติในสถานที่ทำงาน
3. จัดให้มีการบรรยายธรรมและสนทนาธรรม
4. ร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ปลูกต้นไม้ บริจาคโลหิต
5. หัวหน้าหน่วยงานให้โอกาสผู้ร่วมงานไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม ในกรณีที่เป็นวันหยุด
6.จัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับอุดมการณ์ในการทำงานโดยมีเป้าหมายจะละเว้นการกระทำชั่วในเรื่องใดๆ และกิจกรรมอื่นที่เหมาะสม
กิจกรรมเกี่ยวกับสังคมในวันออกพรรษา
1. วัด สมาคม มูลนิธิ หน่วยงาน องค์กร สื่อมวลชน ประชาสัมพันธ์เรื่องวันออกพรรษาโดยใช้สื่อทุกรูปแบบ
2. จัดพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษารวมทั้งหลักธรรมเรื่อง ปวารณา และแนวทางปฏิบัติเพื่อเผยแผ่ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และตามสถานที่ชุมชน เช่น สนามบิน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงธรรม ศูนย์การค้า รวมทั้งบนยานพาหนะต่างๆ
3. เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรม ปฏิบัติธรรม และพิธีกรรมศาสนา เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม รักษาศีล สวดมนต์
4. รณรงค์ทางสื่อมวลชนต่างๆ ให้ลด ละ เลิก อบายมุข และให้งดจำหน่ายสิ่งเสพติดทุกชนิด
5. ประกาศเกียรติคุณสถาบันหรือบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม
6. รณรงค์ให้มีการรักษาสภาพแวดล้อม ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดที่สาธารณะ
7. จัดประกวด สวดสรภัญญะ บรรยายธรรม คำขวัญ บทร้อยกรอง บทความเกี่ยวกับวันออกพรรษา และกิจกรรมอื่นที่เหมาะสม
ประโยชน์จะได้รับจากวันออกพรรษา
1. พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม เรื่องปวารณา และแนวทางปฏิบัติ
2. พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรม คือ ปวารณา
3. พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้ง และตระหนักในความสำคัญของพระพุทธศาสนา
4. พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีรู้จักปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธได้อย่างถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น