วันฮาโลวีน ภาษาอังกฤษ Halloween ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี อ่าน ประวัติวันฮาโลวีน ความหมาย Halloween
"Trick or treat!" คำฮิตติดหูประจำเทศกาลฮาโลวีน (วันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี) หลายคนรู้ว่า สัญลักษณ์ประจำฮาโลวีนต้องมีปาร์ตี้แต่งกายชุดภูตผีปีศาจ และต้องมีฟักทองเจาะหน้าตาแปลกๆ … แต่แล้วทราบหรือไม่ว่า ประวัติฮาโลวีน มีความสำคัญอย่างไร
ฮาโลวีนความหมาย และประวัติวันฮาโลวีนภาษาอังกฤษ ในคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิก Halloween เป็นคำภาษาอังกฤษ เพี้ยนมาจากคำ All Hallows Eves ซึ่งแปลว่า วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย โดยวิธีตัดต่อ Hallow + Eve = Halloween คำว่า Hallow เป็นคำแองโกลแซกซัน แปลว่า ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ตรงกับภาษาเยอรมันว่า heiligen ในปัจจุบันนิยมใช้คำมาจากภาษาละตินว่า sanctify คำว่า Hallow ยังมีใช้ในบทสวดอธิษฐานเก่าๆ เช่น Hallowed be thy Name (ขอพระนามจงเป็นที่สักการะ)
คำว่า Hallow ยังแปลว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์ นักบุญ ดังนั้น All Hallowmas จึงแปลว่า วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย ในปัจจุบันใช้คำว่า All Saints Day คู่กับ Christmas ซึ่งแปลว่า วันสมโภชพระคริสต์หรือคริสต์มาสนั่นเอง
วันก่อนวันสมโภชคริสต์มาสมี Christmas Eve ที่นิยมเรียกว่า คืน (ก่อน) คริสต์มาส วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลายก็มี All Hallowmas Eve ซึ่งต่อมาย่อเป็น Halloween โดยมีงานรื่นเริงและพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเดียวกับคืนคริสต์มาส ชาวคาทอลิกพร้อมใจกันเลื่อนพิธีกรรมทางศาสนาไป หลังวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย และเรียกว่า วันวิญญาณในแดนชำระ (All Souls Day) เพื่อให้คู่กับวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints Day)
ความเป็นมาของวันฮาโลวีน
วันฮาโลวีนของทุกปี จะตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม เชื่อว่ามีที่มาจากวันฉลองปีใหม่ของชาวเซลท์ (Celt) ในวันที่ 1 พฤศจิกายนที่เรียกว่า Samhain ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งความตาย ทั้งนี้ ในวันที่ 31 ตุลาคม ชาวเคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่าเป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พฤศจิกายนเป็นวันขึ้นปีใหม่
ซึ่งในวันที่ 31 ตุลาคมนี่เองที่ชาวเคลต์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตาย และคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมา จะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิงสู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เดือดร้อนถึงคนเป็น ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิญญาณมาสิงสู่ร่างตน ชาวเคลต์จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย และยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ปลอมตัวเป็นผีร้าย และส่งเสียงดัง เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไป
นอกจากนี้คืนดังกล่าวยังเป็นคืนเฉลิมฉลองการสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว และอาจมีการนำสัตว์ หรือพืชผลมาบูชายัญให้กับเหล่าภูติผี และวิญญาณด้วย หลังจากคืนนั้นไฟทุกดวงจะถูกดับ และจุดขึ้นใหม่ด้วยไฟศักดิ์สิทธิ์ของชาวเซลท์
บางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา "คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง" เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสตกาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์ แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน
ในสมัยต่อชาวโรมันคาทอลิกต้องการกำจัดพิธีเฉลิมฉลอง ของกลุ่มชนนอกศาสนาคริสต์เหล่านี้ สันตะปาปา Gregory ที่ 4 จึงได้กำหนดวันที่ 1 พฤศจิกายนให้เป็นวันเฉลิมฉลอง All Saints Day หรือ All Hallows Day สำหรับชาวคริสต์เพื่อระลึกถึงนักบุญ และผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่การเฉลิมฉลองในคืนวันที่ 31 ตุลาคมหรือ Hallow´s Eve ก็ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันแต่ชื่อเรียกได้เพี้ยนไปเป็น Halloween
กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสูร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนจึงกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป
วันฮาโลวีนจากอังกฤษสู่อเมริกา
เดิมเทศกาลฮาโลวีนจัดขึ้นในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และประเทศข้างเคียงเท่านั้น แต่เมื่อชาวไอริช และชาวสกอตอพยพไปตั้งหลักแหล่งในสหรัฐอเมริกา ในช่วงทศวรรษที่ 1840 ก็นำเอาประเพณีนี้ไปปฏิบัติด้วย ปรากฏว่าถูกใจชาวอเมริกันทุกเชื้อชาติ จึงปฏิบัติตามกันอย่างจริงจังตลอดมา และตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็กลายเป็นเทศกาลประจำชาติมาจนทุกวันนี้
วันฮาโลวีนของทุกปี จะตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม เชื่อว่ามีที่มาจากวันฉลองปีใหม่ของชาวเซลท์ (Celt) ในวันที่ 1 พฤศจิกายนที่เรียกว่า Samhain ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งความตาย ทั้งนี้ ในวันที่ 31 ตุลาคม ชาวเคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่าเป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พฤศจิกายนเป็นวันขึ้นปีใหม่
ซึ่งในวันที่ 31 ตุลาคมนี่เองที่ชาวเคลต์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตาย และคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมา จะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิงสู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เดือดร้อนถึงคนเป็น ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิญญาณมาสิงสู่ร่างตน ชาวเคลต์จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย และยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ปลอมตัวเป็นผีร้าย และส่งเสียงดัง เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไป
นอกจากนี้คืนดังกล่าวยังเป็นคืนเฉลิมฉลองการสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว และอาจมีการนำสัตว์ หรือพืชผลมาบูชายัญให้กับเหล่าภูติผี และวิญญาณด้วย หลังจากคืนนั้นไฟทุกดวงจะถูกดับ และจุดขึ้นใหม่ด้วยไฟศักดิ์สิทธิ์ของชาวเซลท์
บางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา "คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง" เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสตกาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์ แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน
ในสมัยต่อชาวโรมันคาทอลิกต้องการกำจัดพิธีเฉลิมฉลอง ของกลุ่มชนนอกศาสนาคริสต์เหล่านี้ สันตะปาปา Gregory ที่ 4 จึงได้กำหนดวันที่ 1 พฤศจิกายนให้เป็นวันเฉลิมฉลอง All Saints Day หรือ All Hallows Day สำหรับชาวคริสต์เพื่อระลึกถึงนักบุญ และผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่การเฉลิมฉลองในคืนวันที่ 31 ตุลาคมหรือ Hallow´s Eve ก็ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันแต่ชื่อเรียกได้เพี้ยนไปเป็น Halloween
กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสูร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนจึงกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป
วันฮาโลวีนจากอังกฤษสู่อเมริกา
เดิมเทศกาลฮาโลวีนจัดขึ้นในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และประเทศข้างเคียงเท่านั้น แต่เมื่อชาวไอริช และชาวสกอตอพยพไปตั้งหลักแหล่งในสหรัฐอเมริกา ในช่วงทศวรรษที่ 1840 ก็นำเอาประเพณีนี้ไปปฏิบัติด้วย ปรากฏว่าถูกใจชาวอเมริกันทุกเชื้อชาติ จึงปฏิบัติตามกันอย่างจริงจังตลอดมา และตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็กลายเป็นเทศกาลประจำชาติมาจนทุกวันนี้
กิจกรรมในวันฮาโลวีน
การฉลองวันฮาโลวีนนิยมจัดกันในสหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร แคนาดา และยังมีในออสเตรเลีย กับนิวซีแลนด์ด้วย รวมถึงประเทศอื่นในทวีปยุโรปก็นิยมจัดงานวันฮาโลวีนเพื่อความสนุกสนาน ในประเทศทางตะวันตก เด็กๆ จะแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจพากันชักชวนเพื่อนฝูงออกไปงานฉลอง เรียกว่า การเล่น Trick or Treat (หลอกหรือเลี้ยง) คือการเดินเคาะประตูขอขนมตามบ้าน
เคล็ดอีกอย่างหนึ่งของเทศกาลฮาโลวีน นอกจากเคาะประตูขอขนมตามบ้านต่างๆ แล้ว ยังมีการนำ แอปเปิ้ล กับเหรียญชนิดหกเพ็นซ์ใส่ลงในอ่างน้ำ หากใครสามารถแยกแยะของสองอย่างนี้ ออกจากกันได้ด้วยการใช้ปากคาบเหรียญขึ้นมา และใช้ส้อมจิ้มแอปเปิ้ลให้ติดเพียงครั้งเดียวถือว่าผู้นั้นจะโชคดีตลอดปีใหม่ที่กำลังมาถึง
ทางด้านสาวอังกฤษสมัยก่อนจะออกไปหว่านและไถกลบเมล็ดป่านชนิดหนึ่งในยามเที่ยงคืนของวันฮาโลวีน พร้อมกับเสี่ยงสัตย์อธิษฐานด้วยการท่องคาถาว่า "เจ้าเมล็ดป่านที่ข้าหว่านจงช่วยบันดาลให้ผู้ที่จะมาเป็นคู่ชีวิตของข้าปรากฎตัวให้เห็น" หลังจากนั้นลองเหลียวมองผ่านบ่าด้านซ้ายของตนเองดู ก็จะได้เห็นนิมิตเรือนร่างของผู้ที่จะมาเป็นสามีในอนาคตของตน (นี่คือความเชื่อของสาวๆ อังกฤษ)
การเล่น Trick or Treat
สำหรับประเพณี ทริกออร์ทรีต (Trick or Treat แปลว่า หลอกหรือเลี้ยง) นั้น เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยชาวยุโรป ซึ่งถือว่า วันที่ 2 พฤศจิกายน เป็นวัน "All Souls" พวกเขาจะเดินร้องขอ "ขนมสำหรับวิญญาณ" (soul cake) จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า ยิ่งให้ขนมเค้กมากเท่าไร วิญญาณของญาติผู้บริจาคก็ได้รับผลบุญ ทำให้มีโอกาสขึ้นสวรรค์ได้มากเท่านั้น
ประเพณีทริกออร์ทรีต ในสหรัฐอเมริกา คือ การละเล่นอย่างหนึ่งที่เด็กๆ เฝ้ารอคอยในวันฮาโลวีน ตามบ้านเรือนจะตกแต่งด้วยโคมไฟฟักทอง และตุ๊กตาหุ่นฟางที่เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีเก็บเกี่ยว (Harvest) ในช่วงเดียวกันนั้น แต่ละบ้านจะเตรียมขนมหวานที่ทำเป็นรูปเม็ดข้าวโพดสีขาวเหลืองส้มในเม็ดเดียวกัน เรียกว่า Corn Candy และขนมอื่นๆ ไว้เตรียมคอยท่า
ส่วนเด็กๆ ในละแวกบ้านก็จะแต่งตัวแฟนซี เป็นภูตผีมาเคาะตามประตูบ้าน โดยเน้นบ้านที่มีโคมไฟฟักทองประดับ (เพราะมีความหมายโดยนัยว่าต้อนรับพวกเขา) พร้อมกับถามว่า "Trick or treat?" เจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะตอบ treat ด้วยการยอมแพ้ มอบขนมหวานให้ภูตผี (เด็ก) เหล่านั้น ราวกับว่า ช่างน่ากลัวเหลือเกิน หรือเลือกตอบ trick เพื่อท้าทายให้ภูตผีเหล่านั้นอาละวาด ซึ่งก็อาจเป็นอะไรได้ ตั้งแต่แลบลิ้นปลิ้นตาหลอกหลอน ไปจนถึงขั้นทำลายข้าวของเล็กๆ น้อยๆ แล้วอาจจบลงด้วยการ treat เด็กๆ ด้วยขนมในที่สุด
ในสมัยโบราณมีการกล่าวขานกันว่าเด็กๆ ไม่ได้ขนม จะแกล้งเจ้าของบ้าน เช่น ใส่ไข่ดิบในตู้จดหมายในคืนเทศกาลฮาโลวีน คนส่วนใหญ่จึงมีขนมและลูกกวาดเตรียมไว้เพื่อจะไม่ต้องโดนผี (เด็กๆ) แกล้ง
และที่ขาดไม่ได้สำหรับเทศกาลฮาโลวีนเลย คือ การประดับประดาแสงไฟ และการแกะสลักฟักทองเป็นโคมไฟ เจาะทำตาจมูก และปากที่แสยะยิ้ม เรียกว่า แจ๊ก-โอ'-แลนเทิร์น (jack-o'-lantern)
ตำนานแกะสลักฟักทอง แจ๊ก-โอ'-แลนเทิร์น (jack-o'-lantern)
ตำนานที่เกี่ยวกับฟักทองนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช กล่าวถึง แจ๊คจอมตืด ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ "ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก"แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ เพราะเขามีความคิดไปในทางของความชั่วร้าย ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก เพราะเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจไว้ ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อให้เขาใช้นำทางไปในทางที่มืดมิด และหนาวเย็น และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น
ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง "การหยุดยั้งความชั่ว" Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่าฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน
เครื่องดื่มวันฮาโลวีน
โดยธรรมเนียมแล้ว วันฮาโลวีน เป็นวันถือศีล และไม่ดื่มสุราหรืออาหารฟุ่มเฟือย อาจมีโซลเค้ก (Soul Cake) ซึ่งเป็นขนมตามธรรมเนียมดั้งเดิมของงานวันฮาโลวีน หรือ อาหาร ที่ไม่ใช่เนื้อ และเมื่อได้รับโซลเค้กให้สวดภาวนาแด่ผู้ล่วงลับเป็นการตอบแทน (อย่างไรก็ดี นี่เป็นละครในงานวัน "ฮาโลวีน" ไม่ใช่พิธีกรรม ดังนั้นการจัดงานเลี้ยงในบ้านเราคงจะต้องมีขนม, น้ำ และอาหารเป็นธรรมดา)
อย่างไรก็ตาม คนไทยปัจจุบันรู้จักเทศกาลฮาโลวีนเหมือนกับที่รู้จักเทศกาลต่างๆ ตามประเพณีของชาวยุโรป เช่น อีสเตอร์ วันขอบคุณพระเจ้า วันคริตสต์มาส หรือวันวาเลนไทน์ ซึ่งในคืนวันฮาโลวีนในกรุงเทพฯ มักจะจัดงาน โดยเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวยามราตรีแต่งกายด้วยชุดแฟนซี สวมหน้ากากเป็นปีศาจรูปร่างต่างๆ เพื่อเป็นสีสันยามค่ำคืนฮาโลวีน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น