ในช่วงที่อากาศเปลี่ยแปลงบ่อย โรคที่ก่อปัญหาให้คนจำนวนมากคงหนีไม่พ้นโรค "แพ้อากาศ" หรือ เยี่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ของประชากรโลกเลยก็ว่าได้ ผู้ที่เป็นจะมีอาการคันจมูก คันตา คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล ถ้าเป็นมากๆ จะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และบางครั้งทำให้เจ็บคอได้บ่อย นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีอาการไซนัสอักเสบตามมา
เป็นหวัดหรือแพ้อากาศกันแน่?
เนื่องจากอาการที่เกิดขึ้นนี้อาจคล้ายอาการหวัดซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อและมักเกิดในช่วงอากาศเปลี่ยนเหมือกัน ทำให้บางคนแยกไม่ออกว่า อาการที่เป็นอยู่นั้นเป็นหวัด หรือ เป็นโรคภูมิแพ้กันแน่ อาการหวัดจากการติดเชื้อนั้นอาจมีไข้ เพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว เจ็บคอร่วมด้วย น้ำมูกอาจเป็นสีเหลืองหรือเขียว ถ้าเป็นอาการที่กิดจากภูมิแพ้จะไม่มีไข้ แต่จะมีอาการคันจมูก คันตา และจมูกใสๆ อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็อาจแยกกันยาก โดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว กรณีนี้ต้องใช้การตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ด้วย
โรคจมูกอักเสบจากภฺมิแพ้ หรือ "แพ้อากาศ" ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะเกิดผลแทรกซ้อนตามมาได้หลายอย่าง เช่น นอนหลับไม่สนิท นอนกรน ต้องอ้าปากหายใจ รู้สึกว่านอนไม่เต็มอิ่ม เวียนศรีษะ มึนงง ไม่มีสมาธิ ซึ่งอาการเหล่านี้รบกวนคุณภาพชีวิตและการทำงานมาก ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดไซนัสอักเสบได้ด้วย
แล้วไซนัสอักเสบนั้นเป็นอย่างไร?
ไซนัสอักเสบ คือ การอักเสบติดเชื้อของโพรงอากาศในกระโหลกศรีษะ ซึ่งมีอยู่หลายแห่ง ที่พบได้บ่อย คือ บริเวณแก้มสองข้างและที่หน้าผาก เป็นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ผู้ที่มีไซนัสอักเสบอาจมีอาการเริ่มต้นแบบเป็นไข้หวัดลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ไอเรื้อรัง น้ำมูกเหลืองเขียว ถ้ามีอาการเหล่านี้รวมกันให้นึกถึงว่าอาจเป็นไซนัสอักเสบ ควรได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจรุนแรงถึงชีวิตได้
ไซนัสอักเสบ สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ และรักษาภาวะที่เป็นปัจจัยเอื้ออำนวยที่ทำให้รูเปิดของโพรงไซนัสอุดตันที่พบได้บ่อยก็คือ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้นั่นเอง
การรักษาด้วยยา
ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกนิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดการอักเสบและบวบของเยื่อบุจมูก จึงช่วยให้โรคภูมิแพ้และไซนัสอักเสบดีขึ้น คือ หายใจโล่งขึ้น อาการคัน จาม และคัดจมูกก็จะลดลง เมื่อรูเปิดของไซนัสไม่อุดตันก็จะช่วยบรรเทาอาการไซนัสอักเสบ และถ้าใช้ยาพ่นอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ก็จะช่วยลดโอกาศที่จะเป็นไซนัสอักเสบซ้ำด้วย
วิธีการพ่นยา ที่ถูกต้องมีความสำคัญมาก ก่อนอื่นควรสั่งน้ำมูกออกให้หมด เขย่าขวดยาแล้วสอดปลายที่พ่นยาเข้าไปในจมูกตรงๆ โดยไม่สอด ลึกเกินไป จากนั้นจึงกดพ่นยาตามจำนวนที่แพทย์สั่ง การใช้ยาพ่นเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ตามคำสั่งของแพย์อย่างเคร่งครัดเสมอ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/3/40/380/th
แหล่งรวมสินค้า อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือวัดขนาดเล็ก เครื่องมือทดสอบขนาดใหญ่ สินค้าที่ใช้ในโรงงาน พร้อมทั้ง อลูมิเนียมโปรไฟล์ อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่นโคมไฟแว่นขยาย และอื่นๆอีกมากมาย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
“Lost Stars” Please don’t see just a boy caught up in dreams and fantasies ได้โปรดอย่ามองเห็นผมเป็นเพียงแค่เด็กชายที่หลงไหลอยู่ในโลกแ...
-
Dial Gauge (นาฬิกาวัด) การใช้นาฬิกาวัดชนิดมาตรฐานและชนิดคาน ภาพที่ 8.10 ขาตั้งนาฬิกาวัด นาฬิกาวัดทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถจะใช้ได้เองโด...
-
ใบวัดมุม (Bevel Protractor) 7.1.1 ลักษณะส่วนประกอบของใบวัดมุม ลักษณะงานที่ใช้วัดด้วยใบวัดมุม การผลิตชิ้นงานให้ได้ขนาดตามแบบกำหนดบางครั้งจะ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น