แหล่งรวมสินค้า อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือวัดขนาดเล็ก เครื่องมือทดสอบขนาดใหญ่ สินค้าที่ใช้ในโรงงาน พร้อมทั้ง อลูมิเนียมโปรไฟล์ อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่นโคมไฟแว่นขยาย และอื่นๆอีกมากมาย
วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ความจริงเรื่อง "กระดูก"
ความจริงเรื่อง "กระดูก"
กระดูกเป็นโครงสร้างของร่างกายที่ให้กล้ามเนื้อมาเกาะเพื่อทำหน้าที่เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย และยังป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้บาดเจ็บ ตลอดจนเป็นที่ผลิตเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวด้วย
ในผู้ใหญ่มีกระดูก 206 ชิ้น กระดูกที่ยาวที่สุดและแข็งแรงที่สุดคือกระดูกต้นขา (Femur)
กระดูกมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ ด้วยมีองค์ประกอบหลัก 3 อย่าง คือ คอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีน ทำหน้าที่เป็นเส้นแกนโครงสร้างภายในที่มีความยืดหยุ่น โดยคอลลาเจนถูกยึดหุ้มด้วยแร่ธาตุ แคลซียม-ฟอสฟอรัส และธาตุอื่นเล็กน้อย ทำให้กระดูกแข็งและแข็งแรง และองค์ประกอบสุดท้ายคือเซลล์ของกระดูกที่ทำหน้าที่สร้างและสลายกระดูก
บางคนไม่ทราบว่ากระดูกมีชีวิต ที่จริงแล้ว กระดูกเป็นเนื้อเยื่อที่กำลังเจริญ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตลอดชีวิต มีการสลายกระดูกเก่าส่วนที่อ่อนแอออกไปและสร้างกระดูกใหม่ขึ้นแทนที่โดยเซลล์ของกระดูกในวัยเด็กและวัยรุ่นจะมีการสร้างกระดูกเร็วกว่าการสูญเสียกระดูก หลังจากเด็กและวัยรุ่นหยุดเพิ่มความสูงแล้ว (ประมาณอายุ 18 ปี) อัตราการสร้างกระดูกยังคงเพิ่มมากขึ้นกว่าการสูญเสียกระดูก จนกระทั่งกระดูกมีความหนาแน่นสมบูรณ์ (ประมาณอายุ 25 ปี) เรียกว่า มีมวลกระดูกสูงสุด (Peak bone mass) ถ้ากระดูกสมบูรณ์ มีมวลกระดูกมาก จะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี อายุยืนยาว ถ้ามวลกระดูกมีน้อย จะมีความโน้มเอียงที่กระดูกจะแตกหักได้ง่าย หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ได้ในอนาคต
เมื่อถึงวัยสูงอายุ จะสูญเสียกระดูกมากกว่าการสร้าง หลังจากที่มีมวลกระดูกสูงสุด สมดุลของการสร้างและสลายของกระดูกจะคงที่ จนประมาณหลังวัย 40 ปี ทั้งชายและหญิง จะมีอัตราการสูญเสียกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก โดยจะเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อยอย่างต่อเนื่อง ทำให้กระดูกบางและอ่อนแอลง แต่ในหญิงหลังวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงเร็วมาก กระดูกจะสูญเสียเพิ่มขึ้น คือบางลงเร็วมาก หลังวัยหมดประจำเดือนประมาณ 5-7 ปี ผู้หญิงอาจสูญเสียมวลกระดูกได้ถึง 20%
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อมีการสูญเสียมวลกระดูกหรือมีการสร้างน้อย หรือทั้งสองประการ อันจะนำไปสู่กระดูกหัก ที่พบมากที่สุดประมาณ 50% ของกระดูกหักในผู้ใหญ่คือที่แขน ส่วนในเด็ก (ที่เป็นโรคกระดูกพรุน) คือที่ไหปลาร้า
เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี จึงมีความจำเป็นที่ทุกคนต้องดูแล ป้องกันกระดูกก่อนที่จะสายเกินไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: หนังสือพิมพ์มติชน โดย เภสัชกร ดร.เทพินทร์ พยัคฆชาติ
แอดมินแนะนำ เพจนี่เลยค่ะ ขอ อนุญาติแชร์ นะค่ะ
http://line.me/ti/p/%40ysw5504a
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
“Lost Stars” Please don’t see just a boy caught up in dreams and fantasies ได้โปรดอย่ามองเห็นผมเป็นเพียงแค่เด็กชายที่หลงไหลอยู่ในโลกแ...
-
Dial Gauge (นาฬิกาวัด) การใช้นาฬิกาวัดชนิดมาตรฐานและชนิดคาน ภาพที่ 8.10 ขาตั้งนาฬิกาวัด นาฬิกาวัดทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถจะใช้ได้เองโด...
-
ใบวัดมุม (Bevel Protractor) 7.1.1 ลักษณะส่วนประกอบของใบวัดมุม ลักษณะงานที่ใช้วัดด้วยใบวัดมุม การผลิตชิ้นงานให้ได้ขนาดตามแบบกำหนดบางครั้งจะ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น