มุมความรู้เรื่องเครื่องวัดเสียง เครื่องวัดความดังเสียง Sound Meter
เรื่องมาตราฐานเครื่องวัดเสียง
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดเสียงมีหลายชนิด ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะเสียงที่ต้องการประเมิน ส่วนประกอบพื้นฐานของเครื่องวัดเสียงมี 4 ส่วน ดังนี้
1. ไมโครโฟนชนิดทุกทิศทาง (Omnidirectional Microphone)
2. ชุดขยายสัญญาณ (Preamplifier และ Amplifier)
3. ข่ายถ่วงน้ำหนัก (Weighting Networks)
4. มาตรวัด (Meter)
การทำงานของเครื่องวัดเสียง คือ คลื่นเสียงกระทบกับแผ่นไดอะแฟรมของไมโครโฟน ซึ่งแผ่นไดอะเฟรมจะสั่นตามความดันที่มากระทบไมโครโฟน จะทำการเปลี่ยนความดันให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าสู่ชุดวงจรขยาย สัญญาณ(Preamplifier) ขยายสัญญาณและส่งผ่านต่อเข้าไปยังข่ายถ่วงน้ำหนัก (Weighting Networks) (ข่าย A,B,C,F หรือ Z) สัญญาณนี้จะส่งไปปรับขยายสัญญาณอีกครั้งและส่งเข้าสู่มาตรวัด (Meter) เพื่อประมวลผลและอ่านค่าเป็นเดซิเบล
เนื่องจาก เครื่องวัดเสียงมีการผลิตออกมาหลากหลายประเภท ตามวัตถุประสงค์ และความแม่นยำในการใช้ จึงมีการกำหนดมาตรฐานของเครื่องวัดเสียงของประเทศต่างๆ องค์กรที่สำคัญคือ IEC (International Electrotechnical Commission) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับไฟฟ้าและ อิเลกทรอนิกส์ต่างๆ สำหรับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องวัดเสียง มีดังนี้
1. มาตรฐาน IEC 651 :1979 Sound Level Meters
ชนิด 0 ใช้งานสำหรับ Laboratory References standard
ชนิด 1 ใช้วัดเสียงในห้องทดลองและวัดในภาคสนาม
ชนิด 2 วัดเสียงในภาคสนาม
ชนิด 3 วัดเสียงเพื่อการสำรวจเบื้องต้น
หมายเหตุ : ใช้วัดเสียงที่ดังสม่ำเสมอ
2. มาตรฐาน IEC 804 : 1985 Integration – Averaging Sound Level Meters
ชนิด 0 ใช้งานสำหรับ Laboratory References standard
ชนิด 1 ใช้วัดเสียงในห้องทดลองและวัดในภาคสนาม
ชนิด 2 วัดเสียงในภาคสนาม
ชนิด 3 วัดเสียงเพื่อการสำรวจเบื้องต้น
หมายเหตุ : ใช้วัดค่า Leq ของเสียงที่ดังสม่ำเสมอและเสียงที่ดังไม่สม่ำเสมอ
ทั้งนี้เรื่องของมาตรฐานเครื่องวัดเสียง สถาบันต่างๆได้มีการกำหนดมาตรฐานสอดคล้องกับมาตรฐานของ IEC ดังนี้
สถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา( ANSI ) ได้กำหนดมาตรฐาน ANSI S.14-1983 ใกล้เคียงกับ IEC 651 : 1979
สถาบันมาตรฐานสหราชอาณาจักร( BSI ) ได้กำหนดมาตรฐาน BS EN 60651 ใกล้เคียงกับ IEC 651 : 1979 และ BS EN 60840 ใกล้เคียงกับ IEC 804 : 1985
ที่มา : คู่มือการอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
1. ไมโครโฟนชนิดทุกทิศทาง (Omnidirectional Microphone)
2. ชุดขยายสัญญาณ (Preamplifier และ Amplifier)
3. ข่ายถ่วงน้ำหนัก (Weighting Networks)
4. มาตรวัด (Meter)
การทำงานของเครื่องวัดเสียง คือ คลื่นเสียงกระทบกับแผ่นไดอะแฟรมของไมโครโฟน ซึ่งแผ่นไดอะเฟรมจะสั่นตามความดันที่มากระทบไมโครโฟน จะทำการเปลี่ยนความดันให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าสู่ชุดวงจรขยาย สัญญาณ(Preamplifier) ขยายสัญญาณและส่งผ่านต่อเข้าไปยังข่ายถ่วงน้ำหนัก (Weighting Networks) (ข่าย A,B,C,F หรือ Z) สัญญาณนี้จะส่งไปปรับขยายสัญญาณอีกครั้งและส่งเข้าสู่มาตรวัด (Meter) เพื่อประมวลผลและอ่านค่าเป็นเดซิเบล
เนื่องจาก เครื่องวัดเสียงมีการผลิตออกมาหลากหลายประเภท ตามวัตถุประสงค์ และความแม่นยำในการใช้ จึงมีการกำหนดมาตรฐานของเครื่องวัดเสียงของประเทศต่างๆ องค์กรที่สำคัญคือ IEC (International Electrotechnical Commission) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับไฟฟ้าและ อิเลกทรอนิกส์ต่างๆ สำหรับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องวัดเสียง มีดังนี้
1. มาตรฐาน IEC 651 :1979 Sound Level Meters
ชนิด 0 ใช้งานสำหรับ Laboratory References standard
ชนิด 1 ใช้วัดเสียงในห้องทดลองและวัดในภาคสนาม
ชนิด 2 วัดเสียงในภาคสนาม
ชนิด 3 วัดเสียงเพื่อการสำรวจเบื้องต้น
หมายเหตุ : ใช้วัดเสียงที่ดังสม่ำเสมอ
2. มาตรฐาน IEC 804 : 1985 Integration – Averaging Sound Level Meters
ชนิด 0 ใช้งานสำหรับ Laboratory References standard
ชนิด 1 ใช้วัดเสียงในห้องทดลองและวัดในภาคสนาม
ชนิด 2 วัดเสียงในภาคสนาม
ชนิด 3 วัดเสียงเพื่อการสำรวจเบื้องต้น
หมายเหตุ : ใช้วัดค่า Leq ของเสียงที่ดังสม่ำเสมอและเสียงที่ดังไม่สม่ำเสมอ
ทั้งนี้เรื่องของมาตรฐานเครื่องวัดเสียง สถาบันต่างๆได้มีการกำหนดมาตรฐานสอดคล้องกับมาตรฐานของ IEC ดังนี้
สถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา( ANSI ) ได้กำหนดมาตรฐาน ANSI S.14-1983 ใกล้เคียงกับ IEC 651 : 1979
สถาบันมาตรฐานสหราชอาณาจักร( BSI ) ได้กำหนดมาตรฐาน BS EN 60651 ใกล้เคียงกับ IEC 651 : 1979 และ BS EN 60840 ใกล้เคียงกับ IEC 804 : 1985
ที่มา : คู่มือการอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
เสียงดังที่เกิดขึ้นในระบบปรับอากาศและระบายอากาศนั้น เกิดจากทั้งแอร์เสียงดัง และเสียงดังจากพัดลมระบายอากาศในห้องน้ำ ต่างสร้างความรำคาญไม่น้อยกับผู้อยู่อาศัย หรือที่ทำงานก่อนที่จะรู้ถึงวิธีวัดเสียง และการแก้ไขหรือลดเสียงที่เกิดขึ้น เราต้องรู้ถึงที่มาของเสียงเสียก่อน
ประเภทของเสียง
1. เสียงดังแบบต่อเนื่อง (Continuous Noise) เป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำแนกออกเป็น2 ลักษณะ คือ เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) และเสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่ (Nonsteady State Noise)
1.1 เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มีระดับเสียง เปลี่ยนแปลงไม่เกิน 3 เดซิเบล เช่น เสียงจาก เครื่องทอผ้า เครื่องปั่นด้าย เสียงพัดลม เป็นต้น
1.2 เสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่ (Non-steady State Noise) มีระดับเสียงเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 10เดซิเบล เช่น เสียงจากเลื่อยวงเดือน เครื่องเจียร เป็นต้น
2. เสียงดังเป็นช่วงๆ (Intermittent Noise) เป็น เสียงที่ดังไม่ต่อเนื่อง มีความดังหรือเบากว่า เป็นระยะๆ สลับไปมา เช่น เสียงเครื่องปั๊ม/อัดลม เสียงจราจร เสียงเครื่องบินที่บินผ่านไปมา เป็นต้น
3. เสียงกระทบหรือกระแทก (Impact or Impulse Noise) เป็นเสียงที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็วในเวลาน้อยกว่า 1 วินาที มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงมากกว่า 40 เดซิเบล เช่น เสียงการตอก เสาเข็ม การปั๊มชิ้นงาน การทุบเคาะอย่างแรง เป็นต้น จาก http://www.npc-se.co.th
ประเภทของเสียง
1. เสียงดังแบบต่อเนื่อง (Continuous Noise) เป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำแนกออกเป็น2 ลักษณะ คือ เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) และเสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่ (Nonsteady State Noise)
1.1 เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มีระดับเสียง เปลี่ยนแปลงไม่เกิน 3 เดซิเบล เช่น เสียงจาก เครื่องทอผ้า เครื่องปั่นด้าย เสียงพัดลม เป็นต้น
1.2 เสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่ (Non-steady State Noise) มีระดับเสียงเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 10เดซิเบล เช่น เสียงจากเลื่อยวงเดือน เครื่องเจียร เป็นต้น
2. เสียงดังเป็นช่วงๆ (Intermittent Noise) เป็น เสียงที่ดังไม่ต่อเนื่อง มีความดังหรือเบากว่า เป็นระยะๆ สลับไปมา เช่น เสียงเครื่องปั๊ม/อัดลม เสียงจราจร เสียงเครื่องบินที่บินผ่านไปมา เป็นต้น
3. เสียงกระทบหรือกระแทก (Impact or Impulse Noise) เป็นเสียงที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็วในเวลาน้อยกว่า 1 วินาที มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงมากกว่า 40 เดซิเบล เช่น เสียงการตอก เสาเข็ม การปั๊มชิ้นงาน การทุบเคาะอย่างแรง เป็นต้น จาก http://www.npc-se.co.th
เสียงรบกวนที่ก่อให้เกิดความรำคาญใจ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน จนก่อให้เกิด”มลพิษทางเสียง”จนทำให้มีกฏหมายออกมาเพื่อควบคุม และกำจัดการก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนปี 2543ได้มีกฏหมายในการตรวจสอบเสียงรบกวน จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 17 เรื่องค่าระดับเสียงรบกวน และประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องกำหนดวิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐานและระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวนระดับเสียงขณะมีการรบกวน ต่อมาได้มีการปรับวิธีตรวจวัดและประเมินผล โดยประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 พ.ศ.2550ใจความสำคัญของประกาศฉบับนี้ก็คือ”ให้กำหนดค่าระดับเสียงรบกวนไว้ที่ 10 เดซิเบล เอ หากระดับการรบกวนที่คำนวณได้มีค่ามากกว่าค่าระดับเสียงรบกวนตามวรรคแรกให้ถือว่าเป็นเสียงรบกวน”
อ่านทั้งหมดที่นี่ http://www.aqnis.pcd.go.th/noise/noise/regulation_th/annoyance_noise.html
อ่านทั้งหมดที่นี่ http://www.aqnis.pcd.go.th/noise/noise/regulation_th/annoyance_noise.html
ค่าระดับเสียงที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ(NC – Noise Criterion)
ห้องที่ต้องการความเงียบมาก ต้องไม่มีเสียงรบกวน เช่น ห้องบันทึกเสียง ห้องบันทึกเทปโทรทัศน์ NC 15-20
ห้องที่ต้องการความเงียบ เหมาะสำหรับการอนนเช่น บ้าน โรงแรม NC 25-35
ห้องที่มีผู้คนอาศัยใช้ประโยชน์หลายคน เช่น ห้องทำงาน ห้องเรียน ห้องสมุด NC 30-40
ห้องที่ต้องการความเงียบมาก ต้องไม่มีเสียงรบกวน เช่น ห้องบันทึกเสียง ห้องบันทึกเทปโทรทัศน์ NC 15-20
ห้องที่ต้องการความเงียบ เหมาะสำหรับการอนนเช่น บ้าน โรงแรม NC 25-35
ห้องที่มีผู้คนอาศัยใช้ประโยชน์หลายคน เช่น ห้องทำงาน ห้องเรียน ห้องสมุด NC 30-40
More info :
ประเภทของเครื่องวัดเสียง
เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจวัดเสียงมีหลายชนิด ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะเสียงที่ต้องการประเมิน ดังนี้
1. เครื่องวัดระดับความดังของเสียง (Sound Level Meter)
เป็นเครื่องมือในการวัดระดับเสียง สามารถวัดระดับเสียงได้ตั้งแต่ 40 – 140 เดซิเบล โดยทั่วไปผู้ผลิตจะผลิตเครื่องวัดเสียงที่สามารถวัดระดับเสียงได้ 3 ข่ายถ่วงน้ำหนัก (Weighting Networks) คือ A ,B และ C ข่ายที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ ข่าย A เพราะเป็นข่ายตอบสนองต่อเสียงคล้ายคลึงกับหูคนมากที่สุด หน่วยวัดของเสียงที่วัดด้วยข่าย A คือ เดซิเบลเอ (dBA)
เครื่องวัดระดับเสียงที่ใช้ในการประเมินระดับเสียงในสถานประกอบกิจการตามกฏหมายอย่างน้อยต้องสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 651 Type 2 (International electrotechnical Commission 651 type 2) หรือเทียบเท่า เช่น ANSI S 1.4 , BS EN 60651 , AS/NZS 1259.1 เป็นต้น หรือ ดีกว่า เช่น IEC 804 , IEC 61672 , BS EN 60804 , AS/NZS 1259.2 เป็นต้น
2. เครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทก ( Impulse or Impact Noise Meter)
เสียงกระทบหรือกระแทกเป็นเสียงที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ แล้วหายไปเหมือนกับเสียงปืน เช่น เสียงตอกเสาเข็ม เครื่องวัดระดับเสียงโดยทั่วไป อาจมีความไวไม่เพียงพอในการตอบสนองต่อเสียงกระแทก จึงควรใช้เครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทกโดยเฉพาะ
เครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทก ต้องมีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 61672 หรือ IEC 60804 หรือ ANSI S 1.43 หรือเทียบเท่า หรือดีกว่า
3. เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม (Noise Dosimeter)
เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาอำนวยความสะดวกในการประเมินการสัมผัสเสียงที่ีมีระดับความดังเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ตลอดระยะเวลาการทำงาน โดยเครื่องวัดชนิดนี้ จะทำการบันทึกระดับเสียง ระยะเวลาที่ได้สัมผัสที่ระดับความดังต่างๆ ตลอดเวลาที่พนักงานได้รับ พร้อมคำนวนปริมาณเสียงสะสมที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับ (ค่า D มีหน่วยเป็นร้อยละ) และหรือค่าเฉลี่ยของระดับความดังตลอดเวลา ที่เครื่องวัดนี้ทำงาน
เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาอำนวยความสะดวกในการประเมินการสัมผัสเสียงที่ีมีระดับความดังเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ตลอดระยะเวลาการทำงาน โดยเครื่องวัดชนิดนี้ จะทำการบันทึกระดับเสียง ระยะเวลาที่ได้สัมผัสที่ระดับความดังต่างๆ ตลอดเวลาที่พนักงานได้รับ พร้อมคำนวนปริมาณเสียงสะสมที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับ (ค่า D มีหน่วยเป็นร้อยละ) และหรือค่าเฉลี่ยของระดับความดังตลอดเวลา ที่เครื่องวัดนี้ทำงาน
เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม ต้องมีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 61252 หรือเทียบเท่า หรือดีกว่า
4. เครื่องวิเคราะห์ความถี่เสียง (Frequency Analyzer)
เนื่องจากเครื่องมือวัดระดับเสียงทั่วไป ไม่สามารถบอกความดังเสียงในช่วงความถี่ต่างๆได้ แต่เครื่องวิเคราะห์ความถี่เสียง สามารถวิเคราะห์ความดังเสียงในแต่ละความถี่ได้ แล้วนำผลการตรวจวัดไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการควบคุมเสียง (Noise Control) เช่น การเลือกใช้วัสดุดูดซับเสียงหรือการปิดกั้นทางผ่านของเสียง และการเลือกปลั๊กอุดหูหรือที่ครอบหูที่เหมาะสมได้ เป็นต้น
เครื่องวิเคราะห์ความถี่เสียงต้องมีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 61260 หรือเทียบเท่า หรือดีกว่า
นอกจากในส่วนของเครื่องมือในการตรวจวัดเสียงแล้ว อุปกรณ์ประกอบการตรวจวัดเสียงก็มีความสำคัญ เพื่อให้ได้ค่าการวัดที่ถูกต้องแม่นยำ
อุปกรณ์ประกอบการตรวจวัดเสียง
1. อุปกรณ์ปรับความถูกต้องของเครื่องวัดเสียง (Noise Calibrator)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับเทียบความถูกต้องของเครื่องวัดเสียง โดยปฏิบัติตามวิธีการที่ระบุในคู่มือการใช้งานของบริษัทผู้ผลิต ก่อนการใช้งานทุกครั้ง
อุปกรณ์ปรับความถูกต้องของเครื่องวัดเสียง ต้องมีคุณลักษณะสอดคล้องกบมาตรฐาน IEC 60942 หรือ เทียบเท่า หรือดีกว่า
2. ฟองน้ำกันลม (wind Screen)
กระแสลมแรงมีผลทำให้การวัดระดับเสียงเกิดความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ดังนั้นขณะตรวจวัดระดับเสียงในบริเวณที่มีลมพัด เช่น ใกล้กับพัดลม ต้องสวมฟองน้ำกันลมที่ไมโครโฟนทุกครั้งและตลอดเวลาการตรวจวัด ฟองน้ำนี้นอกจากจะป้องกันกระแสลมแล้วยังสามารถป้องกันฝุ่น หรือละอองน้ำหรือสารเคมีอื่นไม่ให้เกิดความเสียหายต่อไมโครโฟรของเครื่องวัดระดับเสียงด้วย
กระแสลมแรงมีผลทำให้การวัดระดับเสียงเกิดความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ดังนั้นขณะตรวจวัดระดับเสียงในบริเวณที่มีลมพัด เช่น ใกล้กับพัดลม ต้องสวมฟองน้ำกันลมที่ไมโครโฟนทุกครั้งและตลอดเวลาการตรวจวัด ฟองน้ำนี้นอกจากจะป้องกันกระแสลมแล้วยังสามารถป้องกันฝุ่น หรือละอองน้ำหรือสารเคมีอื่นไม่ให้เกิดความเสียหายต่อไมโครโฟรของเครื่องวัดระดับเสียงด้วย
3. ขาตั้ง (Tripod)
มีลักษณะเหมือนขาตั้งกล้องถ่ายรูป สำหรับใช้ในกรณีเครื่องวัดระดับเสียงมีขนาดใหญ่หรือต้องใช้ระยะเวลานานในการตรวจวัดแต่ละจุด
ข้อควรระวังในการใช้เครื่องวัดเสียง
เครื่องวัดเสียงเป็นเครื่องมือที่ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ มีความบอบบางต่อแรงกระแทก ดังนั้นจะต้องระมัดระวังในการใช้งานไม่ให้ตกหล่น หรือกระแทกกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เครื่องวัดเสียงเป็นเครื่องมือที่ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ มีความบอบบางต่อแรงกระแทก ดังนั้นจะต้องระมัดระวังในการใช้งานไม่ให้ตกหล่น หรือกระแทกกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด
การนำไปใช้งานในภาคสนาม ต้องบรรจุเครื่องมือในกระเป๋าบรรจุเครื่องวัดระดับเสียงโดยเฉพาะ หลังจากใช้งานแล้วต้องเช็ดทำความสะอาดและถอดแบตเตอรี่ออกทุกครั้ง ป้องกันแบตเตอรี่เสื่อมสภาพหรือมีของเหลวไหลจากแบตเตอรี่ทำให้วงจรไฟฟ้าภายในเครื่องวัดเสียงเสียหาย
นอกจากนี้การเก็บเครื่องวัดเสียงจะต้องไม่เก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิสูง และควรศึกษารายละเอียดของเครื่องวัดระดับเสียงในคู่มือการใช้เครื่องมือ เพื่อให้ทราบข้อจำกัดในการใช้งาน เช่น ข้อจำกัดในเรื่องของอุณหภูมิ และความชื้น เป็นต้น
Tagged with: เครื่องวัดเสียง
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก http://www.engineerthailand.com/soundmeter.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น