ในวันที่ 9 ตุลาคมของทุกปี จะมีกิจกรรมงานเฉลิมฉลองใน วันไปรษณีย์โลก (World Post Day) ซึ่งถือว่าเป็นวันครบรอบการก่อตั้ง องค์การไปรษณีย์สากล (UPU) โดยเริ่มก่อตั้งครั้งแรกในปี 1874 ที่เมืองสวิตส์, เบิร์น ซึ่งวันที่ 9 ตุลาคมนี้ที่ได้รับว่าเป็นวันไปรษณีย์โลก ได้มาจากการตกลงในมติที่ประชุมองค์การไปรษณียสากลของโตเกียว ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 1969 ที่นี่เรามาดูประวัติ ไปรษณีย์ในประเทศไทยของเราบ้าง
From Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=A6tbU3sLksk
การไปรษีย์ในประเทศไทย
ในประเทศไทยของเราได้รับอิทธิพลมาจากกงสุลของประเทศอังกฤษ โดยได้เอาระบบการติดต่อสื่อสาร ทางไปรษณีย์มาใช้ในการติดต่อกันระหว่างกรุงเทพฯ กับสิงคโปร์ คือ ในราวปี พ.ศ. 2410 ปลายรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น จึงจำเป็นต้องติดต่อสื่อสาร ส่งข่าวไปมากับต่างประเทศมากขึ้น จึงได้จัดการรับบรราดาจดหมายเพื่อติดต่อกับต่างประเทศ โดยใช้สถานที่ตึกยามท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหลังกงสุงอังกฤษเปิดเป็นที่ทำการ โดยใช้ตราไปรษียากรของสหพันธรัฐมลายาและอินเดีย ซึ่งพิมพ์อักษร “B” ประทับลงบนดวงตราไปรษณียการนั้นๆ แทนคำว่า “Bangkok” และจำหน่ายจดหมายเล่านั้นไปประทับตราวันที่ที่สิงคโปร์ โดยฝากกับเรือค้าขายภายใต้ร่มธงอังกฤษ เพื่อไปยังประเทศสิงคโปร์ต่อไป (การรับ-ส่งจดหมายของกงสุลนี้ได้มีมาช้านานจนกระทั่ง พ.ศ. 2425 จึงได้เลิกไป)
วันไปรษณีย์โลกวันไปรษณีย์โลก
สถานที่ทำการไปรษณีย์ในอดียและ บุรุษไปรษณียกับตู้ไปรษณีย์
ที่ทำการไปรษีย์ สมัยรัชกาลที่ 5 และบุรุษไปรณีย์ กับตู้ไปรษณีย์สมัยก่อน
มีหลักฐานปรากฎในจดหมายเหตุของหลวงว่าประมาณกลางปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช (ข้าราชการสำนักในต้นรัชกาลที่ 5) ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้ทรงพระราชดำริจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย
วันไปรษณีย์โลกวันไปรษณีย์โลก
บุรุษไปรษณีย์กับการส่งจดหมายแก่ชาวบ้านในสมัยก่อน
บุรุษไปรษณีย์ใน พ.ศ. 2435 , และ บุรุษไปรษณีย์ส่งจดหมายถึงชาวบ้าน
หลังจากนั้นรัชกาลที่ 5 งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้น ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2426 เป็นปฐม มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ตึกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือปากคลองโอ่งอ่าง และในวันเดียวกันนี้เอง (ซึ่งตรงกับวันเสาร์เดือนเก้าขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมะแม เบญจศก 1245) ก็ได้มีประกาศเปิดการไปรษณีย์ทดลองในกรุงเทพฯโดยกำหนดให้มีบริการไปรษณีย์ภายในอาณาเขต ดังนี้คือ
1.ด้านเหนือ ถึง สามเสน
2.ด้านตะวันออก ถึง สระประทุม
3.ด้านใต้ ถึง บางคอแหลม
4.ด้านตะวันตก ถึง ตลาดพลู
วันไปรษณีย์โลก
การเปิดบริการไปรษณีย์ในเขตกรุงเทพฯ ครั้งนี้ ปรากฏว่า เมื่อดำเนินการมาได้เดือนเศษ ปรากฏว่ามีผู้ใช้บริการมาก ได้ยังความชื่นชม สมพระราชหฤทัยมาก ดังจะเห็นได้จากกระแสพระราชดำรัส ซึ่งทรงพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย ข้าทูลละออง ธุลีพระบาท ราชทูตอเมริกันและท่านเอเย่นต์กอมิสแซและกงสุลต่างประเทศ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา เมื่อวัน ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2426 มีความตอนหนึ่งว่า
” การไปรษณีย์ซึ่งได้เปิดใช้โดยส่งหนังสือในแขวงจังหวัดกรุงเทพฯ เสมอนั้น ก็เป็นที่แปลกใจของเราที่ไม่คิดว่าคนไทยจะใช้หนังสือกันถึงเพียงนี้ ทำให้เรามีความประสงค์ที่จะจัดการให้ได้ส่งหนังสือไปมาให้ได้ตลอดพระราชอาณาจักรสยามได้โดยเร็ว จะเป็นประโยชน์ในการค้าขายแลทางราชการมาก แล้วภายหลังเราหวังใจว่าคงจะทำตามคำเชิญของท่านผู้จัดการไปรษณีย์ใหญ่ในกรุงเยอรมนี ให้กรุงสยามเข้าจัดการส่งหนังสือไปมาได้ทั่วโลก คือเข้าในหมู่พวกการไปรษณีย์อันรวมกัน “
6 สิ่งต้องห้ามฝากส่งทางไปรษณีย์
วันนี้(10ต.ค.) บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เคยได้ชี้แจงกรณีมีผู้ใช้บริการฝากส่งสิ่งมีชีวิตผ่านบริการไปรษณีย์ อาทิ เต่า งู ปลากัด ซึ่งตามระเบียบไปรษณีย์ไทย ได้ มีสิ่งของต้องห้าม 6 ชนิด ที่ไม่รับฝากส่ง ดังนี้สิ่งมีชีวิตและสิ่งเสพติด วัตถุลามกอนาจาร วัตถุระเบิด/วัตถุไวไฟ วัตถุมีคมที่ปราศจากสิ่งหุ้มห่อ และธนบัตรทั้งหมดเป็นสิ่งของต้องห้ามฝากส่งทางไปรษณีย์
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : http://scoop.mthai.com/specialdays/5360.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น