ใบบัวบกช่วยรักษาเส้นเลือดขอด
เส้นเลือดขอดเป็นภาวะที่หลอดเลือดดำ หรือลิ้นหลอดเลือดดำบริเวณขาอ่อนแอ ทำให้การไหลเวียนเลือดบริเวณขากลับไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่ดี เลือดจึงถูกย้อนกลับมาคั่งบริเวณที่ขาทำให้เกิดอาการเส้นเลือดปูดโป่งพอง เป็นปัญหาด้านความสวยงามที่ผู้หญิงเราไม่อยากให้เกิด แม้ว่าเส้นเลือดขอดจะไม่ใช่โรคร้าย แต่ก็สร้างความรำคาญใจให้ผู้หญิงไม่น้อย บางคนอาจจะหาทางออกด้วยการผ่าตัด ใช้เลเซอร์ เพื่อให้ขากลับมาเรียวงามเหมือนเดิม นอกจากการผ่าตัดแล้วการรับประทานใบบัวบกเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่มีปัญหากับเส้นเลือดขอด
ผลงานวิจัยหลายชิ้นได้ทำการใช้ใบบัวบกทดลองรักษาผู้ที่มีอาการเส้นเลือดขอด พบว่า 8 ใน 10 คนมีอาการดีขึ้น เส้นเลือดที่โป่งพองนั้นยุบตัวลง เนื่องจากสารไตรเตอรพีนอยด์ (Triterpenoid) ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานดีขึ้น และอีกหนึ่งงานวิจัยที่สนับสนุนของ ดร. แดเนียล มาวรีย์ กล่าวว่า ใบบัวบกมีส่วนช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพในการไหลเวียนของเส้นเลือดดำ ป้องกันและลดการเกิดเส้นเลือดขอด นอกจากนี้ยังช่วยเชื่อมต่อเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายด้วย
ความสำคัญของใบบัวบกที่มีต่อระบบประสาทจึงเป็นผลให้นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์หลายสถาบันวิจัยเกี่ยวกับการต่อชีวิตมนุษย์ให้ยืนยาว เพื่อเพิ่มความเป็นหนุ่มสาว แต่ผลงานวิจัยกำลังอยู่ในขั้นตอนการทดลอง ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามชาวเอเชียส่วนหนึ่งก็ยังคงรับประทานใบบัวบกอย่างน้อยวันละ 1-2 ใบ เพียงเชื่อว่าจะทำให้สุขภาพแข็งแรงและมีอายุยืนขึ้น
สูตรน้ำใบบัวบก
ส่วนผสม
ใบบัวบก 2 ถ้วย
น้ำสะอาด 2 ถ้วย
น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
วิธีทำ
นำใบบัวบกสดล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำไปใส่เครื่องปั่นผสมกับน้ำสะอาด ปั่นให้เนื้อเข้ากันและกรองด้วยผ้าขาวบาง เทกากทิ้งเอาเฉพาะน้ำเท่านั้น
นำน้ำใบบัวบกที่ได้เติมน้ำเชื่อม ชิมรสตาใจชอบ หรือจะเติมน้ำแข็งเพื่อเพิ่มความสดชื่น
สรรพคุณ
เป็นความโชคดีของชาวไทยที่สมุนไพรชนิดนี้หารับประทานได้ง่าย ซึ่งมีทั้งในรูปของเครื่องดื่ม หรือใบสด โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งในรูปของอาหารเสริม ใบบัวบกมีสรรพคุณช่วยแก้ช้ำใน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยกระตุ้นในการไหลเวียนโลหิต ช่วยบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด
ผลข้างเคียง
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้บัวบก ได้แก่ การเกิด allergic contact dermatitis จากการใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากบัวบก แม้จะมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดจากองค์ประกอบอื่นในครีม แต่ก็พบว่าสาร triterpene จากบัวบกมี sensitizing effect ในสัตว์ทดลอง จากการศึกษาพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของบัวบก (Chivapat และคณะ, 2547) พบว่าขนาดของผงบัวบกที่ทำให้หนูถีบจักรตาย 50% (LD50) มีค่ามากกว่า 8 กรัม/กก. โดยไม่ทำให้เกิดความผิดปกติทางจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่ออวัยวะภายใน และเมื่อให้ผงบัวบกที่ขนาด 20, 200, 600 และ 1,200 มก./กก./วัน แก่หนูขาวสายพันธุ์วิสตาร์โดยการกรอก (gastric intubation) ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าผงบัวบกไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว ปริมาณอาหารที่กิน และสุขภาพทั่วไปของหนูขาว ค่าโลหิตวิทยาเกือบทั้งหมดของหนูขาวที่ได้รับบัวบกไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ยกเว้นหนูเพศผู้ที่ได้รับบัวบกขนาด 600 และ 1,200 มก./กก./วัน จะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามจำนวนเม็ดเลือดขาวจะเพิ่มขึ้นหลังจากหยุดให้บัวบก 2 สัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานข้อมูลจาก Clinical cases studies (Jorge, 2005) พบว่าผู้ป่วยหญิง 3 ราย อายุ 61, 52 และ 49 ปี เกิดภาวะ jaundice หลังจากรับประทานบัวบกเป็นเวลา 30, 20 และ 60 วันตามลำดับ มีค่า ALT 1193, 1694 และ 324 U/l ค่า ALP 503, 472 และ 484 U/l ค่า billirubin 4.23, 19.89 และ 3.6 mg/dl แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยรายแรกมีพยาธิสภาพของ granulomatous hepatitis ร่วมกับ necrosis และ apoptosis, รายที่สอง chronic hepatitis ร่วมกับ cirrhotic transformation และ intense necroinflammatory activity และรายที่สาม granulomatous hepatitis ผู้ป่วยทั้ง 3 รายมีอาการดีขึ้นเมื่อหยุดรับประทานบัวบกพร้อมๆ กับได้รับ ursodeoxycholic acid ขนาด 10 มก./กก./วัน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น anti-apoptotic ผู้ป่วยรายแรกได้กลับมารับประทานบัวบกอีกครั้งและพบว่ามีการถูกทำลายของตับเกิดขึ้นอีก ผู้วิจัยได้ให้ความเห็นว่าพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นอาจเนื่องจากบัวบกทำให้เกิด cell apoptosis และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ cell membranes อย่างไรก็ตามอาจมีกลไกอื่นร่วมด้วย เช่น immune-mediated mechanism
จากรายงานข้างต้นแม้ว่าจะไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงที่เกิดจากการใช้บัวบก ผู้บริโภคก็ควรที่จะระมัดระวังในการใช้บัวบกและผลิตภัณฑ์จากบัวบก ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรสังเกตอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น และควรมีการตรวจเลือดทางโลหิตวิทยาเป็นระยะ
สาระดีๆ
PEAR'S NATURAL
www.pearbeauty.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น