ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (SI) ได้กำหนดชุดคำอุปสรรค ซึ่งรู้จักกันว่า คำอุปสรรคเอสไอ หรือ คำอุปสรรคเมตริก คำอุปสรรคเอสไอเป็นคำนำหน้าหน่วยวัดพื้นฐานเพื่อแสดงการคูณหรือเศษส่วนเลขฐานสิบของหน่วยนั้น คำอุปสรรคแต่ละคำนั้นจะมีสัญลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งเขียนหน้าสัญลักษณ์ของหน่วยพื้นฐานได้เช่นกัน คำอุปสรรคเอสไอได้รับการวางมาตรฐานโดยสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศในมติระหว่าง ค.ศ. 1960 ถึง 1991[1] การใช้คำเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแต่หน่วยเอสไอและคำอุปสรรคหลายคำพบมีใช้ตั้งแต่ระบบเมตริกเพิ่งถือกำเนิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1790
เมื่อค่าในหน่วยฐานหรือหน่วยอนุพัทธ์น้อยหรือมากเกินไปเราอาจเขียนค่านั้นอยู่ในรูปตัวเลขคูณ ด้วย ตัวพหุคูณ (ตัวพหุคูณ คือ เลขสิบยกกำลังบวกหรือลบ) ได้ เช่น ระยะทาง 0.002 เมตร เขียนเป็น เมตร แทนด้วยคำอุปสรรค มิลลิ (m) ดังนั้นระยะทาง 0.002 เมตร อาจเขียนได้ว่า 2 มิลลิเมตร คำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณและสัญลักษณ์ แสดงไว้ในตาราง
คำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณ
| ||
ตัวพหุคูณ
|
ชื่อ
|
สัญลักษณ์
|
เอกซะ (exa) |
E
| |
เพตะ (peta) |
P
| |
เทระ (tera) |
T
| |
จิกะ (giga) |
G
| |
เมกะ (mega) |
M
| |
กิโล (kilo) |
k
| |
เฮกโต (hecto) |
h
| |
เดคา (deca) |
da
| |
เดซิ (deci) |
d
| |
เซนติ (centi) |
c
| |
มิลลิ (milli) |
m
| |
ไมโคร (micro) | ||
นาโน (nano) |
n
| |
ฟิโก (pico) |
p
| |
เฟมโต (femto) |
f
| |
อัตโต (atto) |
a
|
ประโยชน์ของคำอุปสรรค ช่วยเปลี่ยนหน่วยให้เหมาะสม กะทัดรัด สวยงาม
ที่มา: http://th.wikipedia.org/, ครูอรพิน สีแก้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น