วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

Technical Room-009: Bevel Protractor ใบวัดมุม

ใบวัดมุม (Bevel Protractor)

7.1.1 ลักษณะส่วนประกอบของใบวัดมุม
ลักษณะงานที่ใช้วัดด้วยใบวัดมุม
การผลิตชิ้นงานให้ได้ขนาดตามแบบกำหนดบางครั้งจะต้องทำชิ้นงานให้เป็นมุม วิธีทำชิ้นงานให้มีลักษณะเป็นมุม อาจจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อลบคมให้สวยงาม และเพื่อประกอบกับชิ้นงานอื่น สำหรับการวัดหรือการตรวจสอบมุมของชิ้นงานอย่างไม่ละเอียดนัก เช่น ± 1 องศา จะใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า “ใบวัดมุม”

ภาพที่ 7-1 ชิ้นงานที่ต้องตรวจสอบมุมลักษณะโครงสร้างของใบวัดมุม
ลักษณะโครงสร้างที่สำคัญของใบวัดมุมประกอบด้วยใบบอกองศาที่มีลักษณะโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลมมีขีดสเกลแบ่งองศา 0o – 180o โดยเริ่มจากด้านซ้ายมือ ค่าความละเอียดของขีดสเกลเท่ากับ 10 ฐานด้านล่างของใบบอกองศาใช้ประกอบกับผิวงานขณะวัด และแขนวัดมุมซึ่งยึดติดกับใบบอกองศาด้วยแป้นเกลียวดังภาพที่ 7-1 ปลายด้านบนจะแหลมเพื่อให้อ่านค่าวัดองศาได้อย่างถูกต้อง ปลายด้านล่างจะทำหน้าที่เป็นแขนประกบกับผิวงาน เพราะฉะนั้นใบวัดมุมสามารถวัดมุมของงานที่ใบบอกองศา และแขนวัดมุมสามารถประกอบกับผิวงานได้เท่านั้น
ส่วนประกอบของใบวัดมุม

ภาพที่ 7-2 ส่วนประกอบของใบวัดมุม
ก. ใบบอกองศา
ข. แป้นเกลียวยึดใบบอกองศา
ค. แขนวัดมุม
7.1.2 วิธีอ่านค่ามุมองศาเนื่องจากลักษณะสร้างของใบวัดมุมสามารถใช้วัดมุมได้ทั้งสองด้านดังภาพที่ 7-3, 7-4 โดยองศาที่อ่านได้จากขีดสเกลบอกองศาที่แตกต่างกันคือ
ภาพที่ 7-3 การใช้ใบวัดมุม วัดมุมของชิ้นงานซึ่งอยู่ทางขวาของแขนวัดมุม ค่าวัดมุมองศาของชิ้นงานมีค่าเท่ากับค่าวัดองศาที่อ่านได้ ดังภาพที่ 7-3 ค่าที่อ่านได้เท่ากับ 42 องศา
ภาพที่ 7-3 การวัดมุมด้านขวาภาพที่ 7-4 การใช้ใบวัดมุม วัดมุมของชิ้นงานซึ่งอยู่ทางซ้ายมือของแขนวัดมุมค่าวัดองศาของชิ้นงานมีค่าเท่ากับ 180o – ค่าวัดองศาที่อ่านได้ (180o – 138o = 42o)
ภาพที่ 7-4 การวัดมุมด้านซ้าย
7.1.3 วิธีวัดมุมองศาด้วยใบวัดมุมก่อนวัดจะต้องปรับแป้นเกลียวให้แขนวัดมุม หมุนด้วยความฝืดที่พอเหมาะ กดฐานของใบบอกองศาให้แนบกับผิวงาน หมุนแขนวัดมุมเข้าหาผิวงานจนสัมผัสกับผิวงาน อ่านค่าวัดองศา ถ้าเป็นชิ้นงานที่ไม่สามารถอ่านค่าวัดองศาขณะวัดได้ ให้ขันแป้นเกลียวยึดแขนวัดมุมเสียก่อนจึงยกขึ้นอ่าน

ภาพที่ 7-5 วิธีใช้ใบวัดมุมวัดมุมของชิ้นงาน
7.1.4 วิธีการบำรุงรักษา1. ขณะวัดมุมของชิ้นงาน จะต้องวางใบวัดมุมให้ถูกต้องโดยคำนึงถึงแนวแกนทั้งสาม (y – y’,
x – x’ และ z – z’) ดังภาพที่ 7-6

ภาพที่ 7-6 แนวแกนวัดมุม2. แนวเล็งของสายตาจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
3. ปลายเข็มชี้ขีดสเกลจะต้องแหลมพอ
4. ขีดสเกลบอกองศาจะต้องชัดเจน
5. ชิ้นงานจะต้องลบคมให้เรียบร้อย
6. จะต้องกวดแป้นเกลียวยึดแขนวัดมุมก่อนยกใบวัดมุมขึ้นมาอ่านค่าวัดองศา
7. ควรยึดหรือวางชิ้นงานให้มั่นคงขณะวัด
8. ขณะใช้ใบวัดมุมวัดมุมชิ้นงานจะต้องกดใบบอกองศาและแขนวัดมุม ให้แนบสนิทกับผิวงานจริง ๆ


สนใจผลิตภัณฑ์ของเรา ที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น