วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

ภัยเงียบใกล้ตัวอันตรายจาก... สารกันบูด/ ADMIN - SJ (TONAN ASIA AUTOTECH)


ภัยเงียบใกล้ตัวอันตรายจาก... สารกันบูด




สารกันบูด มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ดี ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด ช่วยยืดการเก็บรักษาและถนอมอาหารได้ เพราะช่วยชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุการ เน่าเสียของอาหาร ไม่ทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยน





สารกันบูดที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2547 แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 

1. กลุ่มของกรดอ่อนและเกลือของกรดอ่อน เป็นกลุ่มสารที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปหลายประเภท เช่น แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง รวมทั้งเครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม เนื่องจากเป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษต่อร่างกายของมนุษย์ในปริมาณที่ต่ำ จึงสามารถขับออกได้ทางปัสสาวะ ผ่านกระบวนการทำงานของตับและไต แต่ถ้าได้รับมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้นในแต่ละวันไม่ควรได้รับเกินค่าความปลอดภัยที่กำหนด

2. กลุ่มของไนเตรทและไนไตรท์ มีคุณสมบัติเป็นสารตรึงสีหรือที่เรียกกันว่าดินประสิว ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตและการสร้างสารพิษของเชื่อจุลินทรีย์ ใช้ได้เฉพาะผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม กุนเชียง เนื้อเค็ม แต่หากใช้สารไนเตรทและไนไตรท์ ในปริมาณมาก ๆ หรือเกินเกณฑ์ที่กําหนด อาจก่อให้เกิดมะเร็งขึ้นได้

3. กลุ่มของซัลไฟต์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นสารชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้เป็นสารฟอกขาว ที่ใช้ป้องกันการเกิดสีน้ำตาลอันเป็นผลจากอาหารทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ ยีสต์ รา และแบคทีเรีย อนุญาตให้ใช้ในพืชผักผลไม้แห้งและแช่อิ่ม ไวน์ เครื่องดื่ม น้ำตาลทราย วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว หากได้รับสารชนิดนี้ในปริมาณมาก จะทำให้หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศรีษะ อาเจียน

4. กลุ่มอื่น ๆ เช่น ไนซิน ที่ใส่ในชีสบางชนิด โพรพิลพาราเบน เมทิลพาราเบน เอทิลพาราเบน ใช้เฉพาะในแยมและเยลลี่ ไพมาริซิน ใช้เฉพาะที่ผิวของเนยแข็ง และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หมักเกลือที่ผ่านหรือไม่ผ่านความร้อน

ในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธสารกันบูด อีกทั้งการจะตรวจดูว่าอาหารที่ซื้อมานั้นมีสารกันบูดหรือไม่คงต้องส่งตรวจใน ห้องแล็บเพียงอย่างเดียว แต่จะทำอย่างไรให้ร่างกายได้รับอันตรายจากสารกันบูดน้อยที่สุด ก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูป ควรอ่านฉลากอาหาร และเลือกอาหารที่ระบุว่าไม่ใส่สารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย หากฉลากนั้นไม่ได้ระบุชัดเจนว่าใช้สารกันบูดหรือไม่ ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือบริโภคให้น้อยที่สุด

ขอบคุณแหล่งที่มา : MaebanClub

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น