วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การนับเดือนแบบญี่ปุ่น / Admin SD (Tonan Asia Autotech)



               สำหรับคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นทุกคนสามารถนับเดือนของญี่ปุ่นได้..ใช่มั้ยคะ ??
โดยปัจจุบันการนับเลขเดือนก็คือเรียงจากเดือน 1 – 12 ประมาณว่า   一 ichi, 二 ni, 三 san, ….十二 juuni แล้วตามด้วย คำว่า getsu (月) ที่มีความหมายในภาษาไทยแปลว่า เดือน เช่น เดือนมกราคม 1 月 แค่นี้ก็จะสามารถรู้ได้ว่าเดือนอะไรเป็นเดือนอะไรแล้วค่ะ แต่จะมีแค่เดือน 4, 7,และ 9 ที่ค่อนข้างจะทำให้เราสับสนอยู่สักหน่อย เพราะมีคำอ่าน 2 แบบ อย่าสับสนกันนะคะ!!!

               ก่อนปี 1873 ปฏิทินจันทรคติของประเทศจีนก็ได้มีการนำเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นแล้ว และได้ถูกใช้ในประเทศญี่ปุ่นต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ปฏิทินจันทรคติของจีนยึดถือการโคจรของดวงจันทร์ จึงส่งผลให้ใน 1 ปี มี 12 เดือน และมี 29 หรือ 30 วัน เพราะดวงจันทร์นั้นใช้เวลาโคจรรอบโลกประมาณ 29 วันครึ่ง ปฏิทินจันทรคติก็เลยมี 29 วันครึ่ง ส่งผลให้เกิดเดือนยาว เดือนสั้นขึ้น สำหรับการเริ่มต้นปีตามปฏิทินจันทคตินั้นจะเริ่มที่ราศีมีนประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม จึงถือเอาว่าเป็นวันปีใหม่เพราะเป็นวันที่ดวงจันทร์โคจรใกล้โลกมากที่สุด และยังถือเป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิอีกด้วย ^6^


ปฏิทินจันทรคติของญี่ปุ่น

แต่วันนี้เราจะขอเสนอการนับเดือนของญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม เอ..แล้วมันแตกต่างจากเดิมแค่ไหนนะ ไปเรียนรู้กันดีกว่าค่ะ ^^

ชื่อเดือนข้างบนนี้ถูกใช้ในสมัยเฮอัน ประมาณปี 794 – 1185 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ส่วนใหญ่ที่มาของชื่อเดือนในสมัยต่างๆ ก็จะสอดคล้องกับฤดูกาลนั้นๆ ของประเทศญี่ปุ่นด้วย หรือไม่ก็ตั้งให้เข้ากับสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ของประเทศญี่ปุ่นค่ะ^^

ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว เพราะหันมานิยมใช้การนับเลขแบบที่กล่าวไปในตอนต้น แต่ก็อาจจะเห็นในปฏิทินของญี่ปุ่นอยู่บ้าง และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1873 ญี่ปุ่นก็ได้เริ่มใช้ปฏิทินแบบคริสต์ศักราชเช่นที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปดังนี้...


           บางทีเราก็สามารถพบเห็นชื่อเดือนในบทกวีหรือนวนิยายต่างๆ ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อคนด้วย อย่างเช่น satsukiและ yayoi ที่นิยมเอาไว้ตั้งชื่อของผู้หญิง


ตารางตัวคันจิและความหมายของชื่อเดือนของญี่ปุ่นสมัยก่อน





ปฏิทินญี่ปุ่นเก่า(1900-1929)


 ปฏิทินยุคปัจจุบัน

คงไม่ยากเกินไปนะคะ และเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสำหรับคนที่อยากจะเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น ลองจดจำแล้วนำไปใช้ ก็ถือว่าเท่ห์ไม่ใช่เล่นเลยๆ นะค่ะ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.marumura.com/language/?id=2877

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น